ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้าผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตเทศบาลตำบลรัษฏา จังหวัดภูเก็ต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาสินค้าที่ผู้บริโภคนิยมบริโภคผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ในเขตเทศบาลตำบลรัษฎา จังหวัดภูเก็ต ใช้วิธีการจัดสรรโควตา (Quota Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเกี่ยวกับ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลตำบลรัษฎา อำเมืองจังหวัดภูเก็ต องค์ประกอบที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้ามากที่สุด คือ ด้านการแสวงหาข้อมูล ( = 3.88) รองลงมาคือ ด้านการประเมินทางเลือก ( = 3.87) และด้านการตัดสินใจซื้อ ( = 3.82) 2) เพื่อศึกษาความนิยมของการบริโภคผ่านสื่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตเทศบาล ตำบลรัษฎา จังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัย พบว่า ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมด้านสินค้าอุปโภคบริโภค และการบริการ มากที่สุดคือ สินค้าเสื้อผ้าแฟชั่น / เครื่องประดับ คิดเป็นร้อยละ 26.00 รองลงมาคือ สินค้าอาหารเสริมเพื่อความงาม คิดเป็นร้อยละ 29.25 สินค้าเครื่องสำอาง คิดเป็นร้อยละ 29.50 สินค้าอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 50.00 และการบริการสื่อและบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 56.25
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์ (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ระพีพรรณ ศรีศรัณยกุล. (2555). งานวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
สำนักงานสถิติ. (2557). การสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ETDA. (2559). รายงานผลการสำรวจมูลค่าพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559.