การศึกษาการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมดิจิตอลทีวีในอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

วิวัฒนา เย็นวัฒนา
จิตรลดา บานแบ่ง
นนทิพัฒน์ ไชยโสดา
เนติมา มีทรัพย์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  ศึกษาการรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับดิจิตอลทีวีในอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด และ ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในการรับชมดิจิตอลทีวีในอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยคณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม คือ ประชาชนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ในอำเภอเมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 22,900 คน และได้กลุ่มตัวอย่าง คือ 1,145 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการยุติการส่งสัญญาณทีวีแอนะล็อก และการรับรู้เกี่ยวกับดิจิตอลทีวีสามารถดูรายการดิจิตอลทีวีผ่านมือถือได้ โดยภาพรวมของการรับรู้ของประชาชน มีค่าเฉลี่ยไม่รู้เป็นส่วนมากการรับรู้เกี่ยวกับกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีสามารถติดตั้งกับทีวีแบบเก่าได้,  การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการรับชมทีวีผ่านกล่องหรือเสารับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนและ การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับดิจิตอล ทีวีภาพมีความคมชัด เสียงดี สัญญาณไม่ โดยภาพรวมของการรับรู้ของประชาชนมีค่าเฉลี่ยรู้เป็นส่วนมาก ความพึงพอใจของการรับชมทีวีดิจิตอล พบว่าส่วนใหญ่ประชาชนมีค่าความพึงพอใจในระดับมาก ประเด็นความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับการได้รับบริการติดตั้งกล่องและปรับช่องสัญญาณ ประเด็นความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับได้รับความช่วยเหลือบริการเมื่อมีปัญหาการติดตั้ง/รับชม และ ประเด็นความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับภาพมีความคมชัด มีคุณภาพเสียงดีกว่าระบบเดิม  พบว่า ประชาชนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล เตรียมพงศ์พันธ์. (2540). ทัศนคติของพนักงานตํคปัญหามลพิษทางน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชมศรีสะอาด. (2527). การพัฒนาการสอน.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ประภาเพ็ญสุวรรณ. (2520). ทัศนคติ:ในการวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย.กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ยุบล เบญจรงคกิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย ศิริกายะ และ กาญจนา แก้วเทพ. (2531). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภิตสุดา มงคลเกษม. (2539). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการคาดเข็ดขัดนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร, วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ จาตุรงคกุล.(2541). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชลี เฑียรฆชาติ. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงานและทัศนคติต่อการทางานเป็นทีมของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Herbert C. Kelman. (1967). Attitude Change in Compliance, Identification and Internalization : Three Process of Attitude Change. John Wiley and Sons Inc, New York.

Katz E, Jay G. Blumler and Michale Gurevitch. (1974). The Used of Mass Communication: Current Perspectives on Gratifications Research.BeverlyHill:Sage Publications.

Katz, Elihu et al. (1974). Uses of Mass Communication by the Individual, Mass Communication Research: Major Issues and Future Directions. W.Philip Davidson and Frederick Yu, Eds. New York: Praeger Publishers.

Wenner, Lawrence A. (1982). The Nature of Gratifications, in Media Gratifications Research: Current Perspective. Beverly Hills, Sage Publications.

Zimbardo and Ebbesen. (1969).Component of Attitude in Influencing Attitude and Changing Behavior. Addison-Wesley Publishing Company Inc, New York.