กระบวนการคิดเชิงระบบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง กระบวนการคิดเชิงระบบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการเรียนรู้ในชั้นเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) สนทนากลุ่มหรือการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมวิจัยและนักศึกษา 2) การอบรมการเขียนแผนฯ ที่เน้นกระบวนการคิดเชิงระบบ 3) แบบประเมินการสอนความพึงพอใจต่อกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) แบบประเมินนวัตกรรมต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาและการวิจัยครั้งนี้โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
จากผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบระบบ พบว่าค่าเฉลี่ยที่นักศึกษาให้คะแนนสูงสุดด้านสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นความสัมพันธ์และคิดเชื่อมโยงองค์ประกอบย่อย ๆ 2) ช่วยพัฒนาพฤติกรรมความเป็นครูให้เหมาะสม 3) สามารถออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ 4) สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.33 รองลงมาได้แก่ 1) ส่งเสริมให้นักศึกษาพยายามใช้กระบวนการคิดเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ 2) ส่งเสริมให้นักศึกษามีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบที่ชัดเจน พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีค่าเฉลี่ย = 4.23 และลำดับสุดท้าย ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้นักศึกษามีการวางแผนในการทำงานอย่างสมเหตุสมผล 2) ส่งเสริมให้นักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางาน 3) ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนางานของตนด้วยวิธีการที่มีคุณภาพ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
ได้ ค่าเฉลี่ย = 4.09 2. ผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ยโดยรวมมีความพึงพอใจระดับเกณฑ์ดี ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ด้านผลการศึกษาการประเมินกิจกรรมเนื้อหาโครงการวิจัย อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.34, S.D = 0.57) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.32, S.D = 0.57) ผลการศึกษาการประเมินหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.32, S.D = 0.55) ผลการศึกษาการจัดกิจกรรมประกวด แบบประเมินกิจกรรมเนื้อหาวิชาการโครงการวิจัย อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.30, S.D = 0.57) กระบวนการคิดเชิงระบบโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา ผลการตรวจสอบพบว่า มีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จาตุรนต์ ฉายแสง. (2556). แปดนโยบายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
นงนุช เอกตระกูล. (2558). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.
วราภรณ์ พิมพ์ราช. (2560). ผลการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการอภิปรายที่มีต่อความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560. วิทยาลันตพล อุดรธานี.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่21.วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ปีที่ 4. ฉบับที่ 1 หน้า 54-63.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร. กระทรวงศึกษาธิการ.