คุณภาพการบริการของบูติครีสอร์ทมีความสัมพันธ์ต่อการให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสม ทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ศรทัสย์ บัวป่า
ลักษณาวดี บุญยะศิริน

บทคัดย่อ

จากการศึกษาเรื่องปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อคุณภาพการบริการของบูติครีสอร์ทมีความสัมพันธ์ ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คืออำเภอเมือง และอำเภอกะทู้จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม ผลการวิจัยว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี สถานภาพโสดระดับการศึกษา ปริญญาตรี อาชีพ ประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้ 20,001 – 40,000 บาท ตามลำดับ ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนักศึกท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัย พบว่าระดับความสำคัญของคุณภาพการให้บริการ ด้านการให้ความมั่นใจในระดับมากในด้านดังกล่าวที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางตลาดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านพนักงานให้บริการในระดับสูงและให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 


คำสำคัญ: คุณภาพบริการ ; ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ; 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิท กังสนันท์. (2529). กระบวนการตัดสินใจด้านการบริหารและกรอบแนวติดทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณสาร การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กนกวรรณ นาสมปอง. (2555). สภาพการให้บริการการศึกษาทางอินเทอร์เน็ตงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. นครปฐม : สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมการท่องเที่ยว. (2558). จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

กฤษณา รัตนพฤกษ์. (2545). การตลาดบริการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). อัตราการเข้าพักโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ประจำปี 2557. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย.

ชัย สมพล ชาวประเสริฐ และสุพจน์ กฤษฎธาร. (2549). การบริหารงานขาย = Sales management.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2520). การวัดทัศนคติและบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2542). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านสำนักตรวจคนเข้าเมือง. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธัญญารัตน์บุญต่อ. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงแรมเวสตินแกรนด์. สุขุมวิท. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

สุนิษา เพ็ญทรัพย์. (2559).การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2536). การตัดสินใจทางสังคม การระดมมวลชนและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2536). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.