14. ทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

Main Article Content

อรนุช ทำศรี
สุดารัตน์ ปรีชา
พรรณวดี ขำจริง
ลลิดา ภคเมธาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตและเปรียบเทียบทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตระหว่างชายกับหญิง โดยจำแนกตามเพศ คณะ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต  จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ คณะ ลักษณะแบบสอบถามเป็นตรวจสอบรายการ (Check List) วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ตอนที่ 2 แบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) เกี่ยวกับทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test แบบ Independent Samples กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (The Opened Form) แบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .958 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


            1) เพื่อศึกษาทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมนักศึกษามีทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมอยู่ในระดับมาก ( = 1.36)  ซึ่งจำแนกเป็นด้าน พบว่า มีทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรม ด้านกายสุจริต อยู่ในระดับมาก พบว่า การกระทำความดีนั้นย่อมได้รับผลดีอยู่ในระดับมาก ( =1.57) ด้านวจีสุจริต อยู่ในระดับมาก ( =1.53) พบว่าเชื่อว่าบุคคลที่งดเว้นการพูดจาหยาบคายต่อพ่อแม่ ส่งผลให้บุคคลนั้นได้รับผลดี ด้านมโนสุจริต อยู่ในระดับมาก ( =1.57) พบว่าบุคคลที่ดำรงชีวิตอยู่บนความเชื่อ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ด้านกายทุจริต อยู่ในระดับปานกลาง ( =1.28) พบว่าผลของการเบียดเบียนชีวิตสัตว์ ส่งผลให้ผู้ปฎิบัติมีอายุไม่ยืนยาว ด้านวจีทุจริต อยู่ในระดับมาก ( =1.38) พบว่าเชื่อว่าการพูดจาหยาบคายต่อพ่อแม่ทำให้ไม่สำเร็จต่อทุกเรื่อง ด้านมโนทุจริต อยู่ในระดับมาก ( =1.53) พบว่า การทำบุญเป็นส่วนหนึ่งของการยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่


2) เปรียบเทียบทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตระหว่างชายกับหญิง ผลการวิจัยพบว่ามีทัศนคติความเชื่อเรื่องกรรมที่แตกต่างกันซึ่งมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บรรจบ บรรณรุจิ. (ม.ป.ป.).จิต มโน วิญญาณ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาสน์.

พระชาญชัย อธิปัญโญ.(2546).กรรมและการเวียนว่ายตายเกิด.กรุงเทพมหานคร:ออฟเซ็ท เพรส.

พระเทพเวที. (ประยุทธ์ ปยุตโต).(2543).พุทธศาสนาใน ฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิกวี. (พิจิตร ฐิตวณโณ). (2546). กฎแห่ง กรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหา มงกุฎราช วิทยาลัย.

พระราชสุทธิญาณมงคล. (จรัญฐิติธัมโม). (2539). กฎแห่งกรรมธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 กรุงเทพมหานคร : หอรัตนชัยการพิมพ์.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวัณโณ). (2551). กฎแห่งกรรม เลือกเกิดได้ ถ้าตายเป็น. พิมพ์ครั้งที่11. กรุงเทพมหานคร: กรีน-ปัญญาญาณ.

พระมหาเปรม โอภาโส. (2542) . ศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต). (ม.ป.ป.). กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด. (ม.ป.ท.).

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538.). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2545). เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพหานคร: สหธรรมมิก จำกัด.

พระพรหมโมลีวิลาศ ญาณวโร. (2545 : 26 ) กรรมทีปนีเล่มที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

พระเอมย์ เครือหวัง.(2552). ความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของนักเรียนมัธยมศึกษาใน โรงเรียนเมือง กระบี่ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปรัชญา มหาวิทยาลัยยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2538). กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยมนา ทองใบ. (2550). การศึกษาสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ.(สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษkมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ริว จิตสัมผัส. (2553). ทำไมชีวิตต้องติดกรรม 1. กรุงเทพ: สยามอินเตอร์บุ๊คส์.

สุทัสศรี สายรวมญาติ. (2553). อิทธิพลของความเชื่อเรื่องกรรมที่มีต่อชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.