1. การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ท ในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง

Main Article Content

สุนิษา เพ็ญทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมืองจังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อส่วนประสมทางการตลาด เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กัน และเพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ พฤติกรรมและความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กันเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริการของรีสอร์ท เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่กำลังจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณสำหรับกลุ่มประชากรที่ใช้การวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าพักใน 10 รีสอร์ท ได้แก่  ภูธารารีสอร์ท  น้ำใสเขาสวยรีสอร์ท  บ้านเชิงเขารีสอร์ท  พธูรีสอร์ท  นาถเทวีรีสอร์ท  เพลินพฤกษารีสอร์ท  เขานางหงษ์รีสอร์ท  เดอะฮิดเด้นรีสอร์ท  เดอะบูลสกายรีสอร์ท (ระนอง) และเดอะบูลสกายรีสอร์ท (เกาะพยาม) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง ทั้งสิ้น 400 คน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความสัมพันธ์ค่าไคสแควร์ (Chi-Square (c2))


ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21 - 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้ 20,000 - 30,000 บาทต่อเดือน  ส่วนใหญ่เข้าพักในภูธารารีสอร์ท วัตถุประสงค์ของการใช้บริการรีสอร์ท คือ ท่องเที่ยวพักผ่อน ระยะเวลาในการเข้าพักรีสอร์ท จำนวน 1 - 2 คืน ความพึงพอใจต่อการใช้บริการที่พักแบบรีสอร์ทในอำเภอเมือง จังหวัดระนอง พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์การบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านราคา


ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทยและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ นักท่องเที่ยวที่มีข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ พฤติกรรมในการใช้บริการและความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ นักท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ พฤติกรรมในการใช้บริการที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุณฑลี รื่นรมย์,เพลินทิพย์ โกเมศโสภา และสาวิกา อุณหนันท์. 2547. มุ่งเน้นลูกค้าและตลาดสร้างองค์กรให้แตกต่างอย่างเหนือชั้น. กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์.

กัญญลักษณ์ พรวิพิทยาเลิศ. 2551. ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการของโรงแรมเรดิสัน กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ขนิษฐา วงษ์คำจันทร์. 2546. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้บริการของโรงแรมอุบลแกรนด์ จังหวัด อุบลราชธานี. มหาสารคาม : การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

คอตเลอร์ฟิลลิป. 2546. หลักการตลาด. โดย วารุณี ตันติวงศ์วาณิช, นิภา นิรุตติกุล, สุทรี เหล่าพันจัน, พรหรหม หรหมเพศ, นิตยา งามแดน และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. กรุงเทพมหานคร : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. 2551. การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ, ฐิตินันท์ วารีวนิช. 2549. การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด.

ฉันทัชวรรณถนอม. 2552. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

ชวลิต เหล่ารุ่งกาญจน์. 2538. ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ จำกัดมหาชน สาขาซีคอนสแคว์. ภาคนิพนธ์ ปริญญามหาบัญฑิต : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริการศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.

ธัญญารัตน์ บุญต่อ. 2552. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงแรม เวสติน แกรนด์ สุขุมวิท. สารนิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : กรุงเทพมหานคร.

นงค์นุช ศรีธนาอนันต์. 2553. การโรงแรมเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุญเสริม หุตะแพทย์, มนูญ กาละพัฒน์. 2552. อุตสาหกรรมการบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัฒนไชย อินทรโยธา. 2551. ความพึงพอใจของลูกค้าที่มารับบริการในโรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร : กรุงเทพมหานคร.

พัฒนา ศิริโชติบัณฑิต. 2548. การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ. กรุงเทพมหานคร : แซทโฟร์พริ้นติ้ง.

มณีวรรณตั้นไทย. 2533. พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ห้องควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาต่อประชาชนผู้มาติดต่อ. วิทยานิพนธ์ ร.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพมหานคร.

มณฑกานต์ แลนแคสเตอร์. 2548. การตลาดโรงแรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. 2551. จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดระนอง. 2544. หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. 2551. ปฐมนิเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

สมยศ นาวีการ. 2543. การบริหารองค์การหรือหน่วยงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บรรณกิจ.

สุพัตรา สร้อยเพ็ชร์. 2550. การจัดการโรงแรม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.