3. การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

ยืนยง ไทยใจดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา และศึกษาแนวทางในการการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 30 คน และครูผู้สอน 308 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test (Independent samples) และ F – test (One way ANOVA)


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน รองลงมาคือ ด้านคุณธรรม ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านความพอประมาณ ปัญหาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีปัญหาในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีปัญหาสูงสุดคือ ด้านความพอประมาณ รองลงมาคือ ด้านความรู้ ส่วนด้านที่มีปัญหาต่ำสุดคือ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน

  2. การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน เมื่อจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้านเมื่อเปรียบเทียบสภาพการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน  พบว่า ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 อยู่ 3 ด้านคือ ด้านการใช้เหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกัน และด้านความรู้ มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 ด้านคือ ด้านความพอประมาณ และมีด้านที่ไม่แตกต่างกันอยู่ 1 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 อยู่ 3 ด้านคือ ด้านความพอประมาณ ด้านการใช้เหตุผล และด้านความรู้ มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 ด้านคือ ด้านคุณธรรม และมีด้านที่ไม่แตกต่างกันอยู่ 1 ด้านคือ  ด้านการมีภูมิคุ้มกัน

            3. แนวทางในการพัฒนาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ควรรู้ประมาณการใช้จ่ายในการบริหารงานในโรงเรียนอย่างเหมาะสมกับสถานะการเงินของโรงเรียน และควรวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายล่วงหน้า ด้านการใช้เหตุผล ควรรับฟังความคิดเห็น และควรวางแผนงานอย่างรอบคอบทุกด้าน ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ควรจัดรายจ่ายให้สมดุลกับรายรับ และควรจัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนการตัดสินใจ ด้านความรู้ ควรตัดสินปัญหาจากงานวิจัย และควรยอมรับความเปลี่ยนแปลงตามหลักวิชาการ ด้านคุณธรรม ควรซื่อสัตย์และโปร่งใสในการปฏิบัติงาน และควรรับผิดชอบงานในหน้าที่สม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนี มุลนี. (2556). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2554). “คำปรารภ” ใน คำพ่อสอน ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ : มูลนิธีพระดาบส.

เฉลิมศรี ชุมเกษียน. (2550). การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาวการณ์เป็นหนี้สินของข้าราชการ สังกัดกองทัพเรือ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาคริสต์ เหลืองเจริญ. (2557). การบริหารโดยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา เขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

บัญญัติ นนทามาลย์ และคณะ. (2553). สภาพการจัดการศึกษาโดยยีดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในเขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2556). วิกฤตเศรษฐ 2540 และความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ใน ณัฎฐพงศ์ ทองภักดี (บรรณาธิการ). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. (38 – 39). กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิพาวรรณ์ รอดช้าง. (2555). การบริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาตามทรรศนะของผู้บริหารและครู สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศิริณา จิตต์จรัส. (2553). เศรษฐกิจชุมชนและภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท ทรปเฟิ้ล เอดดูเคชั่น จำกัด.

ศิริรัตน์ ชาญศาสตร์. (2555). การบริหารงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง.

ศิริศักดิ์ นิลเกตุ. (2554). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรพน ดัดพันธ์. (2555). การบริหารโรงเรียนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สกุลรัตน์ กมุทมาศ. (2552). การบริหารงานตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สุนทร กุลวัฒนวรวงศ์. (2554). ตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง – ทฤษฎีใหม่. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น.

อนุสรณ์ ประสารภักดิ์. (2556). การบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

อุดมพร อมรธรรม. (2556). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว