4. ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชลลดา เหมะธุลิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในสำนักงานบัญชี ความรู้ความเข้าใจ การเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี จังหวัดอุดรธานีเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 183 คน ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Independent Sample t-test, One-Way ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความรู้ความเข้าใจ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ประกอบอาชีพผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) และผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) มีการเตรียมความพร้อมในด้านวิชาชีพบัญชี ได้แก่ มีการเตรียมการในเรื่องของการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีของประเทศสมาชิกอาเซียน ด้านภาษา ได้แก่ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ด้านกฎหมาย ได้แก่ มีการศึกษาข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ระหว่างประเทศ รวมถึงศึกษามาตรฐานการบัญชี มาตรฐานรายงานทางการเงิน มาตรฐานการภาษีอากร รวมถึงศึกษากฎหมายแพ่ง และอาญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทางด้านบัญชีของประเทศสมาชิกอาเซียน
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลงบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปของแต่ละประเทศ
ในอาเซียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2557). ข้อมูลสำนักงานบัญชี จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2557,จากhttp://www.dbd.go.th/udon/ewt_dl_link.php.

กานดาวรรณ แก้วผาบ. (2554). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของนักศึกษา สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2557, http://proceedings.bu.ac.th/?download.

ณัฐพล จันทร์เขียว. (2555). การเตรียมความพร้อมของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558.การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงลักษณ์ ศิริพิศ สุชญา มานวกุล และปฐมาภรณ์ คำชื่น. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC) กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานบัญชีตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2557, จาก http : //www.hu.ac.th/Symposium2014/document.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2542). พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.

วีรยุทธ สุขมาก และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2556).ความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). สืบค้นวันที่ 24 กันยายน 2557,จาก http://www.spu.ac.th/account/files/ 2014/01.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). สรุป สาระสำคัญพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.fap.or.th/index.php.