ปัจจัยการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยกำหนดกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้จัดการในสถานประกอบการภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป 8 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและ
แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยใช้ค่า t- test ผลการวิจัย พบว่า
- ปัจจัยทางด้านบุคคล ด้านเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ด้านวิธีการ ด้านวัตถุดิบ และด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตในระดับมาก ส่วนทางด้านเงินทุนส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตในระดับมากที่สุด
- ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่มีเพศต่างกัน ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ และวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการบริหาร และระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจต่างกัน ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต โดยรวมและรายด้าน ทุกด้าน แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ05
- ปัจจัยทางด้านบุคคล ด้านเครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ ด้านวิธีการ ด้านวัตถุดิบ ด้านเงินทุน และด้านสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จำลักษณ์ ขุนพลแก้วและคณะ. 2544. หลักการเพิ่มผลผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ประชาชน. กรุงเทพมหานคร.
ทวีมาศ นาคอุดม. 2547. การประยุกต์ใช้การออกแบบผังโรงงานเพื่อเพิ่มผลผลิต กรณีศึกษา อุตสาหกรรมสิ่งทอ.
บรรจง จันทมาศ. 2547. การพัฒนางานด้วยระบบบริหารงานคุณภาพและเพิ่มผลผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพมหานคร.
บรรลือ ชัยสมตระกูล. 2544. การเพิ่มผลผลิตด้วยทฤษฎีข้อจำกัด กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องเรือน.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. 2551. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สุริยสาส์น.
ปรีชา ด้วงน้อย. 2541. การเพิ่มผลผลิตของสายการประกอบแบตเตอรี่ด้วยระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการปรับปรุงกระบวนการผลิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นภา ศรีพรรธนกุล. 2533. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชัย ฉันทภาภ. 2552. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน การไฟฟ้าเขต 2 ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550. ศึกษาปัญหาอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดย่อม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน.
รักศักดิ์ หิรัญญะสิริ. 2550. การเพิ่มผลผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม. วิทยานิพนธ์ วศ.ม.ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย ริจิรวนิช. 2543. การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม เทคนิคและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
วีณา โฆษิตสุรังกุล และคณะ. 2546. Productivity องค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 3.สำนักพิมพ์ อินโนกราฟฟิกส์. กรุงเทพมหานคร.
สมลักษณ์ สันติโรจนกุล. 2548. การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต. พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์. กรุงเทพมหานคร.
สุจรรยา จุลกะนาค. 2552. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจด้านการจัดซื้อของบริษัทในอุตสาหกรรมสิ่งทอ.