ความพร้อมในการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุผ่านระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุในปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศึกษาความพร้อมในการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment) ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยผู้วิจัยสำรวจสถานภาพปัจจุบันในการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนของผู้สูงอายุ และข้อมูลการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักคือนักพัฒนาชุมชนและตัวแทนผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่าง ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 แห่งโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงและความพร้อมเปิดเผยข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น มีการจ่ายเบี้ยยังชีพในปัจจุบันผ่านสองช่องทาง คือ รับเป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 26.85 และรับโดยการโอนเข้าบัญชี คิดเป็นร้อยละ 73.15 ส่วนด้านความพร้อมพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมือง (urban area) มีความพร้อมในการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุผ่านระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ มากกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สูงอายุในเขตกึ่งเมือง (semiurban area) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สูงอายุในเขตชนบท (rural area) ตามลำดับ โดยนักพัฒนาชุมชนและผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตชนบทมีความกังวลถึงการเข้าถึงการให้บริการทางการเงิน รวมถึงในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สูงอายุในเขตชนบทส่วนใหญ่มองว่าการจ่ายเบี้ยเป็นเงินสดในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่เป็นการแจกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน แต่ยังเป็นการออกไปเยี่ยมพบปะผู้สูงอายุ ให้กำลังใจ และรับทราบปัญหาของผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
[2] จีรณัทย์ ชาญเชิงพานิช. (2559). การเข้าถึงระบบการเงินฐานรากของประเทศไทย. ประเด็นร้อน มกราคม 2559 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.
[3] ชไมพร ขนาบแก้ว และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2562). ทัศนคติและการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ การใช้ e-payment ผ่านธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562.
[4] ทีมข่าวการเมือง. (8 สิงหาคม 2562). กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ จ.สิงห์บุรี 9 ส.ค. 62. กรุงเทพธุรกิจ.
[5] ทีมข่าวจีนิวส์. (28 มีนาคม 2562). สถ. เตรียมความพร้อมการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการของ อปท. ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-payment). Gnew.
[6] นิตยา ปินตาวงค์. (2559). ความพร้อมของนักศึกษาที่มีผลต่อแนวคิดประชาคมอาเซียนของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[7] นนท์นที โตเขียว. (2554). การเปิดรับสื่อและทัศนคติของนักศึกษาสาขานิติวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อภารกิจสถาบันนิติวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
[8] ประชา กุณาสิทธิ์. (2550). การเตรียมความพร้อมของพนักงานในองค์กรเฉพาะกิจที่อยู่ในภาวะการเปลี่ยนแปลง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[10] พิธุวรรณ กิติคุณ. (2561). การพัฒนางานบริการภาครัฐด้านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ. ประเด็นร้อน พฤษภาคม 2561 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.
[11] พรรณอร พัฒนการค้า. (2560). ปัจจัยความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 : กรณีศึกษาเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2560 หน้า119-123.
[12] รุจิราภรณ์ นาแข็งฤทธิ์. (2558). ความเป็นธรรมของระบบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตเมืองและเขตชนบท. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[14] วิชุดา สาธิตพร, สติธร ธนานิธิโชติ, ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์และสุนิสา ช่อแก้ว. (2560). การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมผ่านนโยบายสวัสดิการสังคม: กรณีศึกษาการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560 หน้า 52-53.
[15] ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561 หน้า 164.
[16] สำนักวิชาการแผนภาษีกรมสรรพากร. (2559). การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์National e-Payment.
[17] อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี. (2558). ความพร้อมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการด้านสุขภาพ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย. วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2558 หน้า 7-12.