การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายยูทูบของนักศึกษา สาขาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

Main Article Content

กัญฐณา สุขแก้ว
ชัยนันท์ ปัญญาวุทโส

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้เครือข่ายยูทูบของนักศึกษา  สาขาระบบสารสนเทศ  คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบที t–test (Independence Sample Test)


ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มักใช้อินเทอร์เน็ตจากสถานที่ต่าง ๆ ผ่านสมาร์ตโฟน และใช้เครือข่ายยูทูบในสถานะผู้ดูวิดีโอ โดยใช้ยูทูบเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  หมวดหมู่ที่สนใจมากที่สุด คือ บันเทิง ความรู้ และ เทคโนโลยี  ส่วนกิจกรรมที่มักทำบนยูทูบ คือการดูหนังดูละคร ฟังเพลง ดูมิวสิควิดีโอ  เกมส์โชว์  ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้ยูทูบใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการศึกษาและพัฒนา พบว่า เครือข่ายยูทูบช่วยให้เข้าถึงข่าวสารต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน และมักหาความรู้เรื่องที่สนใจจากวิดีโอบนเครือข่ายยูทูบ 2) ด้านการสื่อสารและการเผยแพร่ พบว่า เครือข่ายยูทูบมีวิดีโอที่ตอบสนองความต้องการได้ดี  3) ด้านการใช้งาน พบว่า นักศึกษามักใช้เครือข่ายยูทูบเพื่อความผ่อนคลายและความสนุกสนาน   ผลการศึกษาความแตกต่างด้านการใช้งาน พบว่า ผู้สมัครสมาชิกยูทูบ มีระดับการใช้งานบนเครือข่าย สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก โดยมีการโพสต์วิดีโอเพื่อเผยแพร่และสมัครสมาชิกช่องต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า  การศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่สนใจจากวิดีโอ และวิดีโอบนยูทูบมีคุณภาพน่าเชื่อถือ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยควรส่งเสริมการคัดกรองสื่อที่มีมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับดีจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศทั่วโลกเพื่อส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของนักศึกษา


 


คำสำคัญ:  พฤติกรรมการใช้ยูทูบ ; การใช้เครือข่ายยูทูบ ; สื่อการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตพล บรรทัดทอง. (2558). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เจษฎา มีช้าง. (2560). การศึกษาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารปราบไตรจักร มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2560. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

ฐิติกร สุทธิสินทอง. (2556). การใช้ยูทูบกับการสื่อสารการตลาดของค่ายภาพยนตร์ GTH. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดารานิตย์ คงเทียม. (2557). การแสดงตัวตนของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรทิพย์ กิมสกุล. (2553). พฤติกรรมการใช้ยูทูบและประเด็นจริยธรรมทาง ข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้ยูทูบในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวารสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรภรณ์ ไกรชุมพล. (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการสร้างชื่อเสียง กรณีศึกษายูทูบ (YouTube). บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรเดช ผุดผ่อง. (2558). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสื่อโฆษณาในสื่อเว็บไซต์ยูทูบของวัยรุ่นไทย.
ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารการตลาด มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรารัตน์ ทัพพิมล. (2556). พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ยูทูบของนิสิตนักศึกษากับความพึงพอใจต่อศิลปินนักร้อง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรชา ทวีลาภ. (2557). การรับรู้การใช้ประโยชน์จากสื่อยูทูบในเรื่องดนตรีของคนในกลุ่ม GENRATION Y ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.