2. การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นางสาวภัสราภรณ์ ณ พัทลุง
สุพรรณริกา วัฒน์บุณย์
จิรศักดิ์ แซ่โค้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี
บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโดก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโดระหว่างเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโด โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนควนสุบรรณวิทยา จ.สุราษฎร์ธานีเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.95 แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีค่าความเชื่อมั่น 0.86 มีค่าอำนาจจำแนก 0.33 และมีค่าความยากง่าย 0.62 มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.95 และแบบสอบถามความคิดเห็นมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีในการทดสอบสมมติฐาน


ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( Mean= 23.75, S.D.=1.59) สูงกว่าก่อนเรียน ( Mean = 15.25, S.D.=2.17) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนผ่านเกณฑ์คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 95.83 และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคซี ไอ อาร์ ซี บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เอ็ดโมโด อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นฤพนธ์ สายเสมา. (2556). การนํา Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2561. จาก http://www.scribd.com/doc/32947348/.

นูรีย๊ะห์ เจ๊ะยอ. (2552). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ CIRC มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เนตรวรา ศรีสิน. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค ซี ไอ อาร์ ซี เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ.

ปานวาส ประสาทศิลป์. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “ภาษาอังกฤษเพื่อความพร้อมในการทำงาน” ด้วยเอ็ดโมดู สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์. 2558. ความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Edmodo). ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มณิกา ทองคง. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม –มิถุนายน 2563 หน้า 180-189. วิทยาลัยสันตพล.

วันทา สุขโสม. (2551). การจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความโดยใช้คำถามตามแนวคิดของบลูม (Bloom) กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ

การสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Erwin, G. (2017). The Effectiveness of Using Edmodo in Enhancing Students’Outcomes in Advance Writing Course of the Fifth Semester at FIP – UMMU. Universitas Muhammadiyah Maluku Utara.

Gupta, M., & Ahuja, J. (2014). Cooperative Integrated Reading Composition (CIRC). Impact on Reading Comprehension Achievement in English among Seventh Graders. International Journal of Research in Humanities, Arts and Literature ISSN(E): 2321-8878; ISSN(P): 2347-4564 Vol. 2, Issue 5.000di

Slavin, E.R. (1990). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. Advision of Simon & Schuster, Inc., Massacchusets. Needham Heights.

Zainuddin. (2015). The Effect of Cooperative Integrated Reading and Composition Technique on Students’ Reading Descriptive Text Achievement 1. English and Literature Department, Faculty of Languages and Arts, Universitas Negeri Medan. Indonesia.