3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ฉัตรศิริ วิภาวิน
ศศิวิภา มณีศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลขี้เหล็กและตำบลสะลวง
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 287 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.87
หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุวิเคราะห์โดยการใช้สถิติ Chi square


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้แก่ปัญหาด้านการศึกษาน้อย สุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลาน ด้านการใช้บริการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ  ผลการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาระบบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกเป็นรายด้านที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความมั่นคงในชีวิตเป็นด้านที่สูงที่สุด  ด้านร่างกาย ระบบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกเป็นรายด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านสังคม ด้านจิตใจ และระบบคุณภาพชีวิตที่อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ทำให้ระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกันคือ อายุ และสถานภาพสมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กุลิศรา ปิ่นทอง. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 10.
หน้า 110 - 120
[2] กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564). สืบค้นจาก
. http://www.dop.go.th/th/laws/1/28/766
[3] ไกรวุฒิ ช่วยสถิตย์. คุณภาพชีวิตด้านครอบครัวและชุมชนชาวไทยมุสลิมในชุมชนเมือง: ศึกษากรณีชุมชนบ้านหัวสะพานสะเตงและชุมชนกำปงบาโงย. ภาคนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
[4] จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. บทความวิชาการ. 6-24
จุฑาลักษณ์ แสนโทและคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารรัชต์ภาคย์ ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี สถาบันรัชต์ภาคย์. หน้า 333 - 347
[5] ที่ทำการปกครองจังหวัดเชียงใหม่. (2559). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก.
http://164.115.25.139/mischm2018/analysis/6_Analyze_elderly.pdf