การศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ การค้าชายแดน ด่านท่าเสด็จ หนองคาย

Main Article Content

เจริญชัย พรไพรเพชร
ยุทธสิทธิ จันทร์คูเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนบริเวณด่านท่าเสด็จ หนองคาย 2)ศึกษาเปรียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนบริเวณด่านท่าเสด็จ หนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ผู้ประกอบการ การค้าชายแดนบริเวณ ด่านท่าเสด็จ หนองคาย จำนวน 210 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ค่าคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ค่า IOC 0.864 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนบริเวณด่านท่าเสด็จ หนองคาย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2)ผู้ประกอบการ มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นในการค้าชายแดนบริเวณ ด่านท่าเสด็จ หนองคาย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร :องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ : สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
[3] กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คูมือการบริหารโรงเรียน ในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[4] พีรานุช ไชยพิเดช. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนนิติบุคคล ในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-ตุลาคม 2558. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
[5] Hui, S.M., & Cheung, H.Y. (2006). A Re-examination of Leadership Style for Hong Kong School-Based Management (SBM) Schools. 26(2): 173-187. (Online). Available : https://www.informaworld.com/smpp/contentacontent=a758342700-db=all. Retrieved 6/7/2560