การศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

นายจักรพงษ์ พิลาจันทร์
วิทร วิภาหัสน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา และสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา โดยจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดสถานศึกษา และเพื่อศึกษาบรรยากาศองค์การของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และครูผู้สอน จำนวน 312 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 342 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent samples) F - test (One - way ANOVA) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) สมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน 3) เปรียบเทียบบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 4) เปรียบเทียบสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ 5) บรรยากาศองค์การของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา ได้แก่ ด้านความเป็นหนึ่งเดียวในองค์การ (X9) ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน (X7) ด้านความอบอุ่น (X5) ด้านความเสี่ยงของงาน (X4) ด้านการสนับสนุน (X6) และด้านการให้รางวัล (X3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้


              สมการในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)


                         Ý = a1 + b9X9 + b7X7 + b5X5 + b4X4 + b6X6 + b3X3


                      = 1.17 + 0.40X9 + 0.35X7 - 0.21X5 + 0.22X4 + 0.10X6 - 0.11X3


            สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)


                    ż = β9Zx9 + β7Zx7 + β5Zx5 + β4Zx4 + β6Zx6 + β3Zx3


                           = 0.46Zx9 + 0.40Zx7 - 0.25Zx5 + 0.30Zx4 + 0.15Zx6 – 1.5Zx3

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] คทาวุธ ม่วงแก้ว. (2558). บรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
[2] จิราวัลย์ พิมพ์บาล. (2559). บรรยากาศองค์การของกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
[3] ฉวีวรรณ เอี่ยมพญา. (2559). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[4] เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดตาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (4) ; 125.
[5] ปิยนุช แสงนาค. (2559). สมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
[6] ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดเพื่อครู. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
[7] ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี : มนตรี.
[8] มนตรี ศรีจันทร์อินทร์. (2559). บรรยากาศองค์การของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จันทบุรี-ตราด. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
[9] วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิดทฤษฎีและประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.
[10] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (2560). คู่มือยกระดับคุณภาพผู้เรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ปีการศึกษา 2560. อุดรธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
[11] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.
[12] อุทัยรัตน์ ทองเนื้อตัน. (2558). ได้ศึกษาสมรรถนะของพนักงานครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนคร นครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.