การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษากับประสิทธิผล ในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

อังคณา ศรีอ่อน
วิทร วิภาหัสน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษากับประสิทธิผลในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 361 คน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู  ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และการสุ่มตัวอย่างโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าได้ค่าความเที่ยงตรงแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายตามเพียร์สัน (Pearson’s prodnet  moment  correlation coefficient ) ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาในภาพรวมจัดอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมและรายด้าน 2) ประสิทธิผลในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษากับประสิทธิผลในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดหนองบัวลำภูในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). คู่มือแนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ.

คุรุสภาลาดพร้าว.

กนกอร อุณาพรหม. (2553). การจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่

อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). คู่มือแนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ. คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิพย์ทิพา วุฒิวัย. (2551). ศึกษาความต้องการและการได้มีส่วนร่วมผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบัวหลวงไพโรจน์วิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

พัชรินทร์ อาลัยลักษณ์. (2549). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยืนยง ไทยใจดี. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี : วิทยาลัยสันตพล.

รัตน์ธิชา ฤชาอนันต์วิทวัส. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา. จันทบุรี.

ลัดดา ศิลาน้อย อังคณา ตุงคะสมิต และองอาจ ศิลาน้อย. (2549). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ต (E-learning) รายวิชา 234 119 ครูกับสังคมอีสาน สำหรับนักศึกษาสังคมศึกษา. สาขาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรเอกชนจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). ปฏิรูปการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นโยบายด้านการศึกษาของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา). กรุงเทพฯ . โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). การศึกษาของเด็กปฐมวัยหัวใจสำคัญของการศึกษา. บทความวิชาการ. สืบค้น 8 สิงหาคม 2562 จาก. http://www.parliament.go.th

Hoy, W & Miskel, C. G. (1991). Educational Administration: Theory Research and Practice. New York : McGraw – Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607 - 610.