7. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารของครู กับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Main Article Content

สายชล คงแสนคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจำนวน 338 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent samples) F - test (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารของครูอยู่ในระดับมาก โดยภาพรวมและรายด้าน 2) ประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน  3) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารของครู จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 4) การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่  ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารของครูกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ในทางบวก ในระดับสูง  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 ในภาพรวมและรายด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] งามตา ธานีวรรณ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร. ปริญญานิพนธ์
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
[2] จิระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2553). พัฒนาการของการบริหารการศึกษาไทย. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทาง
วิชาการ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[3] จตุรภัทร ประทุม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 27. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[4] ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การมีส่วนร่วม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม.
[5] ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2551). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพ ฯ : พิมพ์ดี.
[6] ยุกตนันต์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวงสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญญาครุสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชบุรี.
[7] เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[8] ศมนภร นาควารี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผลในการ
บริหารงานวิชาการของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 31. ปริญญา
นิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
[9] อุทัย หิรัญโต. (2552). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพ ฯ : พีระพัชนา.
[10] สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. (2560). ข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา ปีการศึกษา 2560 เลย –
หนองบัวลำภู. กลุ่มนโยบายและแผน.
[11] Cohen. J. M., & Uphoff, N. T. (1997). Rural development participation : Concept and measure for
project design implementation and evaluation : Rural development committee center for
internationalstudies. New York : Cornell University Press.