9. ทักษะการบริหารกับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

Main Article Content

วัชรินทร์ จันทโร

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 2) ผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จำนวน 48 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 1 คน รวมทั้งสิ้น 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของของกริฟฟิน กับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556 จำนวน 12 มาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะด้านเทคนิค ทักษะการบริหารเวลา ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการวินิจฉัย 2) ผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง และพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 3) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552- 2561). กรุงเทพฯ.สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา.
[2] คุรุสภา สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2559). มาตรฐานวิชาชีพครู. สืบค้น 25 เมษายน 2559.จาก https://www.ksp.or.th.
[3] พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[4] ภูมิ ทุ่งโชคชัย. (2558). การใชทักษะการบริหารงานของฝายบริหารโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม. วารสารบริหาร การศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. ปที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม - มิถุนายน 2558 หน้า 61-68. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[5] ภูมินทร์ เจริญสุข. (2559). สภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (2016): มกราคม - มิถุนายน 2559 หน้า 1-8. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
[6] ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การ มหาชน). (2559). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สืบค้น 25 เมษายน 2559. จาก https://aqa.onesqa.or.th/ SummaryReport.aspx.
[7] วิวัฒน์ บุญยง. (2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[8] สมศักดิ์ เก้าลิ้ม. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของครูกับผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
[9] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ. สำนักนายกรัฐมนตรี.
[10] สุภาพร เหล่าทรัพย์เจริญ. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การวัตกรรมในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[11] อิ่มทิพย์ อนิศดา. (2555). คุณภาพชีวิตของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
[12] OLUWADARE ADEGBEMILE. (2011). Principals’Competency Needs for EffectiveSchools’ Administration in Nigeria. Journal of Education and Practice 2.
[13] Robert V. Krejcie, and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Education and Psychological Measurement. No.3 (November 1970).

Translated Thai References

[1] IMTHIP ANISADA. (2012). Teachers' Quality of Life Effecting Performance Toward The Teacher Professional Standards in Schools Under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 4. Master of Education Program in Educational Administration Department of Educational Administration. Graduate School. Silpakorn University.
[2] Information system for external quality assessment Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization) (2016). Executive summary. Accessed 25 April 2016. Available from https://aqa.onesqa.or.th/ SummaryReport.aspx.
[3] Ministry of Education. (2009). Proposals for educational reform in the second decade (2009 - 2018). Bangkok. The Secretariat of the Council of Education.
[4] Office of the National Education Commission. (2010). National Education Act 1999 (Version 2) 2002 (Version 3) 2010. Bangkok. Office of the Prime Minister.
[5] OLUWADARE ADEGBEMILE. (2011). Principals’Competency Needs for EffectiveSchools’ Administration in Nigeria. Journal of Education and Practice 2.
[6] PHUM THUNGCHOKCHAI. (2015) Administrative Skills Exercising Of Mattayomwatdusitaram School Administrators. Journal of Educational Administration. Vol 5 No 2 January - June 2015 Silpakorn University.
[7] PHUMIN CHAROENSUK. (2016) The State of the Teachers Performance According to Traditionally Professional Standard in Basic School under the Secondary Educational Service Office Area 33. Sikkha Journal of Education. Vol 3 No 1 January-June 2016 p.1-8. Vongchavalitkul University.
[8] POTNARIN LUEANGARANNAPHA. (2013). Managerial Skills of School Administrator Offecting Teachers' Happiness in Workplace Under the Jurisdiction of secondary Educational Service Area Office 8. Master of Education Program in Educational Administration Department of Educational Administration. Graduate School. Silpakorn University.
[9] Robert V. Krejcie, and Daryle W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Education and Psychological Measurement. No.3 (November 1970).
[10] SOMSAK KAOLIM. (2010). Relationship Between Teachers’Characteristic and Work Performance of Teachers Under the Office of Prachinburi Educational Service Area 2. Master of Education. Educational Administration Program. Burapha University.
[11] SUPAPORN LAOSUBCHAROEN. (2013). Director's Administrative Skills and Innovative Organization in Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 2. Master of Education Program in Educational Administration Department of Educational Administration. Graduate School. Silpakorn University.
[12] Teachers Council of Teachers and Educational Personnel. (2016). Professional standards for teachers. Accessed 25 April 2016. Available from https://www.ksp.or.th.
[13] WIWAT BOONYONG. (2014). Managerial Skills of Administrators Offecting Organizational Culture of Secondary Schools in Nakornpathom Province. Master of Education Program in Educational Administration Department of Educational Administration. Graduate School. Silpakorn University.