ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคม ที่เหมาะสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทุ่งฝนพัฒนศึกษา จังหวัดอุดรธานี THE EFFECT OF USING GUIDANCE ACTIVITIES WITH APPLICATIONKAHOOT TO DEVELOP PROPER BEHAVIOR OF USING SOCIAL MEDIA OF MATHAYOMSUKSA 4 STUDENS AT THUNGFONPATTANASUKSA SCHOOL UDONTHANI PROVINCE

Main Article Content

chomsuda yongyuen

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม และ  2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดข้อสนเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทุ่งฝนพัฒนศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 52 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 26 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 26 คน  โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม 2) ชุดข้อสนเทศเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม และ  3) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ สื่อสังคมที่เหมาะสม มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


            ผลการวิจัยพบว่า  


  1. 1. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง 

  2. 2. นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แอปพลิเคชั่นคาฮูทมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับชุดข้อสนเทศเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] วันวิสา แก้วแล. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดพฤติกรรมนิยมที่มีต่อการพัฒนามารยาทไทยของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยาจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
[2] ชนัญธิดา นามมา. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอุดรคริสเตียนวิทยา จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
[3] ตะวัน แวงโสธรณ์. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาการให้อภัยของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้น. วารสาร
ศึกษาศาสตร์',มสธ.ปีที่ 12 ฉบับที่ 1; ม.ค. - มิ.ย., หน้า 55 -70
[4] สุดาณัฏฐ์ แสนเหลาเจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Microsoft Producer เรื่องการ
ปฏิบัติเบอเกอรี่เบื้องต้น โดยใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทำงาน สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปี
ที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล,ปีที่ 2 ฉบับที่ 2; ก.ค. - ธ.ค., หน้า 14 - 21
[5] ณัฐกุล กิ่งแก้ว. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวต่อการควบคุมตนเองมีพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
[6] อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. วารสารวิชาการ
Veridian E-Journal, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 หน้า 276 - 285
[7] สุชีวา ว่องไว และฉันทนา กล่อมจิต. (2560). ผลของกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ที่เสี่ยงต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1; ม.ค. - มี.ค.,หน้าที่ 224 - 231
[8] ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และนิรุต ถึงนาค. (2560). การพัฒนาโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดเพื่อการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสาร
ศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1; ม.ค. - มิ.ย., หน้าที่ 69 - 82
[9] อมร สวัสดิ์รักษ์, เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท, คมสัน รัตนสิมากุล, เสาวลักษณ์ รัตนชูวงศ์. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้
เท่าทันสื่อของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3.
วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, มหาวิทยาลัยเชียงราย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3; ก.ย. - ธ.ค., หน้าที่ 122 - 138
[10] Chen, Dai-Ling. (2015).Developing Critical Thinking through Problem-Based Learning: an Action
Research for a Class of Media Literacy. (Doc-toral thesis) UK : Durham University.
[11] Feuerstein, Mira.(2002). Media literacy in support of critical thinking.(Doctoral thesis).
England : University of Liverpool.
[12] Simon Kemp. (2017).We Are Social’s. (2017) Digital in 2016 Retrieved from
http://wearesocial.com/special-reports/digital-in-2016