A การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

YUTTAPOP SRIKONGPAN

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษา และความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษา  และความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และขนาดของสถานศึกษา และเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมการ เขต 20 กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  จำนวน  341  คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent samples) F - test (One - way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายตามวิธีของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน 2) ความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 4) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน 5) การเปรียบเทียบความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 6) การเปรียบเทียบความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่า มีด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 1 ด้าน คือ มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 7) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครูในสถานศึกษา ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจาณาเป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ 2 ด้าน คือ มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และด้านการปฏิบัติงาน ส่วนมาตรฐานด้านการปฏิบัติตน มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คนึงใจ กฤษณา (2547). การศึกษาการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ใจนวล พรหมมณี. (2550). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทางานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยยนต์ เพาพาน, นารินทร์ เดชสะท้านและศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1, 3 : 83.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2551). การพัฒนาองค์กร. กรุงเทพฯ : มิสเตอร์ก๊อปปี้.
ยืนยง ไทยใจดี. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี : วิทยาลัยสันตพล.
รุจิรัตน์ นาคะรัมภะ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพตามมาตรฐานวิชีพครูของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันทนา เมืองจันทร์. (2542). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : วันทิพย์.
สมพร จำปานิล. (2549). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2543 ก). ข้อเสนอเชิงนโยบายการปฏิรูปวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
________. (2543 ข). รายงานการวิจัยเอกสารเรื่องการพัฒนานโยบายการยกย่องครูผู้มีผลงานดีเด่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). การบริหารการเปลี่ยนแปลง,การบริหารราชการแนวใหม่ บริบทและเทคนิควิธี. กรุงเทพฯ : บริษัทวิชั่น พริ้นท์ แอนด์มีเดีย.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2544). การวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำและพฤติกรรมผู้นำ. ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 9, 235. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิชยา มีเพียร. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อารมณ์ จินดาพันธ์, (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาบุคลากรสู่ความเป็นครูมืออาชีพในยุคปฏิรูปการศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 14, 64 : 251.
Bass, Bernard M., and B. J. Avolio. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Thousand Oaks : Sage Publications.
Eric Hoyle. (1969). The Role of Teacher. London : Routledge and Krgan Pual Ltd.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Educational and Psychological Measurment. New York : Minnisota University.
Stephen P.Robbin. (1978). Administrative Process. New Delhi : Preniice Hall of India.