การศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

แสงสุริยา ศรีพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา  2) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  และ  4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 1  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  และบุคลากรในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต 1  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่  และมอร์แกน  จำนวน  312  คน  และการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นแบบสอบถาม  ประเมินค่า  5  ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.94  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทำการวิเคราะห์เพื่อหาค่าสถิติโดย คำนวณหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


              ผลการวิจัย  พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  3) ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  เรียงตามลำดับ  คือ  พฤติกรรมผู้นำแบบทำงานเป็นทีม  พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน  และพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งคน  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .57  สามารถร่วมกันพยากรณ์แรงจูงใจใน การปฏิบัติงานได้ร้อยละ 32  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการพยากรณ์เท่ากับ .41


คำสำคัญ : ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม ; แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

[1] ณิชพร คำเถียร. (2559). แรงจูงใจกับการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
[2] ภูมิภัทร สุวรรณศรี. (2560). ภาวะผู้นำเชิงวิถีเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของครูในโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
[3] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2562. จากhttp://planning.dld.go.th/th/images/stories/
section-5/2561/strategy03.pdf.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[5] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ.
บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
[6] . (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561. จาก http://www.thaiedresearch.org/index.php/home/paperview/35/?
[7] สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. (2560). ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561. จาก https://www.ocsc.go.th/sites/.../4._rabbraachkaaraith Yainbribthaithyaelnd-4-0.pdf.

[8] อรทัย มูลคำ. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบล สู่โรงเรียนทำมาหา กินสมัยใหม่ เพื่อ สร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
[9] อรนุช พาทีทิน. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตราด. ปริญญา นิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
[10] อภิชา ธานีรัตน์. (2558). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 8(1) : 61.