การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2

Main Article Content

อภิญญา กองสุข
วรพล คล่องเชิงศร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา  2) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรในสถานศึกษา  และ  3) ศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
ในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษา  และบุคลากรในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  จำนวน  297  คน  ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า  ที่มีค่าความเที่ยงตรง  อยู่ระหว่าง  0.80 – 1.00 
และค่าความเชื่อมัน  0.85  สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ประกอบด้วย  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และการวิเคราะห์ด้วยการใช้สถิติสมการถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน 


ผลการวิจัย  พบว่า  1)  ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  2)  ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  3)  ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  4)  ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา  เรียงตามลำดับค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของการพยากรณ์จากมากไปหาน้อย  คือ  ทักษะด้านเทคนิควิธี  ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์  และทักษะด้านความคิดรวบยอด  ตามลำดับ  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ  0.63  สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ  39.80  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการพยากรณ์เท่ากับ  0.28 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชไมพร คงโพ. (2559). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ. สุวีริยาสาส์น.

พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อความสุขในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ฐิติพร เสริมสัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูกับการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. ปริญญานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐ มะลิซ้อน. (2557). ทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ยืนยง ไทยใจดี. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. อุดรธานี : วิทยาลัยสันตพล.

รุ่งนภา บังคลัน. (2559). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู กลุ่มโรงเรียนบางบ่อ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วริศรา บุญธรรม. (2560). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุพิชญา อุรเคนทร์เนตร. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักการคลังและสินทรัพย์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธัญญา กฤตาคม และคณะ. (2560). ความพึงพอใจในการรับชมดิจิตอลทีวีต่อการเปลี่ยนผ่านการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก อําเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการ วิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562. หน้า 167.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (2562). ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา. ค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562. จาก https://www.smart.nongkhai2.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค

อำนวย พลรักษา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Afshari Mostafa, Hostafa Habib and Others. (2012). Prioritzing Managerial Skills Based on Katz’s Theory in Physical Edcation Offices of Universitics in Iran. World Applied Scienecs Journal. 12(3) : 388 – 394.

Dramstad, S.A. (2005). Job satisfaction and organizational commitment among teacher in Norway : A comparative study of selected school from pubtie and private educational systems. Retrieved from http//www.lib.Umi.com/dissertations/fulleit.3122213.

Gordana Stankovska and Slangna Angelkoska. (2017). Perspectives from Around the World BCES Conference Book. Job motivation and satisfaction among academic staff higher education. Retrieved from http://bces-conference-books.org/onewebmedia/2017.159-166.