การควบคุมคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีในประเทศไทย ก้าวสู่มาตรฐานการบริหารคุณภาพ ระหว่างประเทศ (ISQM1)

Main Article Content

วันสิริ ประเสริฐทรัพย์

บทคัดย่อ

การควบคุมคุณภาพสำนักงานสอบบัญชี ตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 พบว่ามีผลกระทบในทางปฏิบัติกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดกลางและขนาดเล็ก  ปัจจุบันคณะกรรมการมาตรฐานการสอบบัญชีและงานที่ให้ความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ (IAASB) ได้จัดทำมาตรฐานการบริหารคุณภาพระหว่างประเทศ (ISQM 1)  เพื่อมาทดแทน โดยออกแบบและนำไปใช้กับสำนักงานสอบบัญชี เพื่อให้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผล สำนักงานและบุคลากรบรรลุความรับผิดชอบตามมาตรฐานวิชาชีพ ข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรายงานที่ออกมีความเหมาะสม 


มาตรฐานการบริหารคุณภาพระหว่างประเทศ (ISQM 1)   มี  8  องค์ประกอบ จากเดิม 6 องค์ประกอบ มีการเพิ่ม และปรับปรุง  ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ 1.การกำกับดูแลและผู้นำ 2.กระบวนการประเมินความเสี่ยงของสำนักงาน 3.ข้อกำหนดจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง 4. การตอบรับและคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานที่มีลักษณะเฉพาะ  5.การปฏิบัติงาน  6. ทรัพยากร 7.สารสนเทศและการสื่อสาร และ8. กระบวนการติดตามและแก้ไข เน้นบทบาทหน้าที่ความเป็นผู้นำของสำนักงานสอบบัญชี  ขับเคลื่อนด้วยความเสี่ยง   เพิ่มทรัพยากรทางเทคโนโลยีและปัญญา  ให้ความสำคัญการสื่อสารสองทาง และเพิ่มกระบวนการติดตามผลและแก้ไข   ดังนั้นการนำมาตรฐานการบริหารคุณภาพระหว่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย สามารถปรับให้เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของสำนักงานสอบบัญชี  ส่งเสริมการบริหารคุณภาพเชิงรุกและอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยง  เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  คำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะ และกระบวนการติดตามและแก้ไขข้อบกพร่องที่มีประสิทธิภาพ สำหรับสำนักงานสอบบัญชีขนาดกลางและเล็ก อาจต้องใช้เวลา ถ้าสามารถทำได้ จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพการสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล


           


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). มาตรฐานการปฏิบัติงาน (COSO-ERM). สืบค้น 10 ตุลาคม 2562.
จาก https://med.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/standard
[2] นพวรรณ ชินวงษ์. (2558). แนวทางการบริหารความเสี่ยง. สืบค้น 5 ตุลาคม 2562.
จาก https://www.gotoknow.org/posts/585763
[3] ปนัดดา กาญจนมิ่ง. (2558). ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมคุณภาพสำนักงานสอบบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรานงานการตรวจสอบของสำนักงานบัญชีขนาดเล็กในประเทศไทย (รายงานการศึกษาวิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบัญชี). สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[4] ปุณยนุช ปิ่นกุมภีร์, และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2560). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อคุณภาพการสอบบัญชี
ของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน สาขาบัญชี). กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีปทุม(บางเขน).
[5] พลอยไพลิน ตันติสกล,และศิริลักษณ์ ศุทธชัย. (2560). ศึกษาคุณภาพการสอบบัญชีของสำนักงานสอบ บัญชีระหว่างประเทศ และในประเทศ ของผู้ใช้บริการสอบบัญชีในประเทศไทย ในมุมมองผู้ใช้บริการสอบบัญชี. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาบัญชี). การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (น.1319-1327). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[6] ลัดดาวัลย์ ยอดบัว, และกนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2561). อิทธิพลของการควบคุมการสอบบัญชีและความ
เป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีที่มีผลต่อ คุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในกรุงเทพฯ และ
ปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(8), 342-357.
[7] วันสิริ ประเสริฐทรัพย์. (2563). ผลกระทบการควบคุมคุณภาพตามกรอบมาตรฐานควบคุมคุณภาพฉบับที่ 1 (TSQC1) ที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของสำนักงานสอบบัญชีระหว่างประเทศ (Big 4) และในประเทศ (Non-Big 4) ในมุมมองผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
[8] ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2560). “เรื่องสําคัญในการตรวจสอบ” ในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีกับการตอบสนองของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(38), 22-38.
[9] สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 315 (ปรับปรุง) เรื่องการระบุและประเมินความเสี่ยงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ. กรุงเทพมหานคร.
[10] สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 700 (ปรับปรุง) เรื่องการแสดงความเห็นและการรายงานต่องบการเงิน มาตรฐานการสอบเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพมหานคร.
[11] สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2559). มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 701 (ปรับปรุง) เรื่องการสื่อสารเรื่องสำคัญในการ ตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. กรุงเทพมหานคร.
[12] อรกานต์ ผดุงสัจจกุล, และดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย (2558). ความแตกต่างของคุณภาพงานสอบบัญชีระหว่าง
สำนักงานสอบบัญชี Big 4 และ Non-Big 4 สามารถบอกลักษณะของลูกค้าได้หรือไม่ หลักฐานจากบริษัท
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 11(12), 34-53.
[13] อุษณา ภัทรมนตรี. (2560). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.
[14] Eshleman, J. D., & Guo, P. (2014). Do Big 4 Auditors Provide Higher Audit Quality after Controlling for
the Endogenous Choice of Auditor?. AUDITING: A Journal of Practice & Theory: November 2014.
33(4), 197-219.
[15] International Auditing and Assurance Standards Board. (2019). International Standard
on Quality Management. Retrieved July 1, 2019, from https://www.ifac.org/system/files/publications/files/IAASB-Proposed-ISQM-1-Explanatory-Memorandum.pdf
[16] Mercia Group. (2019). Quality control for audits moves to quality management. Retrieved 15 April, 2019, from https://www.mercia-group.co.uk/mercia-news-and-blog/quality-control-for-
audits-moves-to-quality-management/

Translated Thai References

[1] Mahidol University. (2015). Performance Standards (COSO-ERM).
https://med.mahidol.ac.th/risk_mgt/en/standard. [in Thai]
[2] Chinwong, N. (2015). Risk management guidelines. Retrieved Oct 5, 2019, from https://www.gotoknow.org/posts/585763. [in Thai]
[3] Kanchanaming, P. (2015). Problems from Audit Firms Quality Control Affecting to Quality of Auditing Reports of Small-Sized Audit Firms in Thailand (Graduation thesis report
Master of Accounting). Prince of Songkla University. Songkla. [in Thai]
[4] Pinkakphi, P., & Sukwathanasinit, K. (2017). Factors Affecting an Audit Quality of Tax Auditors in Thailand. (Independent study report for master's degree. Economics and Business Administration, Year 1, Issue 1 January-June 2017 Accounting. Bangkok. Faculty Sripatum University p.72- 96.
[in Thai]
[5] Tantisakon, P., & Suthichai, S. (2017). The study of Audit Quality between international auditing firms (Big 4) andlocal auditing firms (Non-Big 4) in Thailand. (Independent Master's degree study Faculty of Business Administration and Accounting). Academic conference Presenting graduate m Academic Conference Presenting graduate research National and international 2017, 10 March 2017 at Khon Kaen University (pp.1319 – 1327). Khon Kaen. Khon Kaen University. [in Thai]
[6] Yodbual, L., & Sukwattanasinit, K. (2019). The Influence of Audit Controll and Professioalism of the Auditor the Audit Quality of Auditor in Bangkok and Vicinty Areas. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 12(8), 342-357. [in Thai]
[7] Prasertthap, V. (2020). The impact of quality control in accordance with TSQC1 on audit quality of the International auditing firm (Big 4) and the Local auditing firm (Non-Big 4) from the point of view of the auditor approved by the Securities and Exchange Commission (SEC) in Thailand. (Research report). Bangkok: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. [in Thai]
[8] Srichanphet, S. (2017). "Significant matters of audit" on the auditor's report page and the response of the Stock Exchange of Thailand. Journal of Accounting Professions, 13(38), p.22-38. [in Thai]
[9] Federation of Accounting Professions In the royal patronage. (2016). Auditing Standard Code 315 (revised) Re: Identification and Evaluation of Significant Information Risk Factors. Bangkok. [in Thai]
[10] Federation of Accounting Professions In the royal patronage. (2016). Auditing Standard Code 700 (revised) regarding Express opinions and reports to the financial statements Related examination standards. Bangkok. [in Thai]
[11] Federation of Accounting Professions In the royal patronage. (2016). Auditing Standard Code 701 (revised) regarding communication matters in Check in the report of the certified auditor. Bangkok. [in Thai]
[12] Phadungsajkul, O., & Phongphattharachai, D. (2015). Differences in the quality of audit work between Can the Big 4 and Non-Big 4 auditors be able to identify the client's characteristics? Evidence from the company Listed on the Stock Exchange of Thailand. Journal of Accounting Professions, 11(12), p. 34-53. [in Thai]
[13] Phattharamantri, U. (2017). Modern Internal Audit. 7th edition. Bangkok: Chamchuri Printing Product.
[in Thai]