ความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียและการจัดการโซ่อุปทานการส่งออกทุเรียนแช่แข็งและทุเรียนฟรีซดรายไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกทุเรียนแช่แข็งและฟรีซดรายของไทยเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย 2) เพื่อศึกษาระบบโซ่อุปทานทุเรียนแช่แข็งและฟรีซดราย รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อำนาจในแต่ละระดับของผู้ประกอบการทั้งหมดในโซ่อุปทานเพื่อการส่งออกโดยเริ่มต้นจากเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีและในมาเลเซียถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เกษตรกรของจังหวัดจันทบุรี 5 ราย ผู้ประกอบการทุเรียนแช่แข็งและฟรีซดราย ในประเทศ 15 รายและประเทศมาเลเซีย 10 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นการการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้คำถามแบบกึ่งโครงสร้างที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านอุปสงค์และปัจจัยการผลิตในประเทศ ในขณะที่สหพันธรัฐมาเลเซียได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านยุทธศาสตร์โครงสร้างและการแข่งขันของประเทศ นโยบายรัฐบาลและอุตสาหกรรมที่สนับสนุนและเกี่ยวเนื่องในประเทศ 2) ประเทศไทยใช้ระบบการขนส่งทางบกเป็นหลักและมีการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำจนถึงปลายน้ำที่สั้นกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าสหพันธรัฐมาเลเซีย ในขณะที่สหพันธรัฐมาเลเซียมีปัญหาในต้นน้ำ สาเหตุหลักมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนการขนส่งมีการขนส่งทางเรือและทางอากาศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กฤตผา แสนชัยธร. (2558). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญทรัพย์ พานิชการ, กุลภา โสรัตน์และนัทธ์หทัย หลงสะ. (2560). โครงการวิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มณิกา ทองคง. (2562). การตัดสินใจทางการตลาดสำหรับการประกอบธุรกิจ. วารสารวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2562 หน้า 197 - 206. วิทยาลัยสันตพล.
วนินทร สุภาพ. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ยากอย่างที่คิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลยนเรศวร ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556 หน้า 124 - 126. มหาวิทยาลยนเรศวร.
วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล. (2557). การศึกษาทศันคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทย ไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ตุลาคม 2557 หน้า 72 - 86. มหาวิทยาลัยสยาม.
สคร ฮ่องกง. (2559). รายงานการวิเคราะห์ ทุเรียนไทยและมาเลเซียในตลาดฮ่องกง. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/149369/149369.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). ทุเรียน. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.oae.go.th/oae_report/export_import /export_result.php.
อุบลรัตน์ แจ้งเจริญ. (2554). ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจในธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Charis V. (2019). Porter’s Diamond Approaches and the Competitiveness. International Journal of Business Administration; Vol.10 No.5 September 2019. Sciedu Press. Canada.
Uncomtrade Database. (2018). Durian. Retrieved December 8, 2019 from https://comtrade.un.org/db/default.aspx.