การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้สคูโลจีในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้สคูโลจีในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของครูระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดกระบี่ ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดกระบี่ ที่ใช้ชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้สคูโลจีในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ และศึกษาความพึงพอใจของครูภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดกระบี่ ที่มีต่อชุดฝึกอบรมผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้สคูโลจีในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสังข์ทองวิทยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมที่มีค่าความยากระหว่าง 0.38 – 0.75 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.64/83.59 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เข้าอบรม หลังการใช้ชุดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อชุดฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
จตุพร กาญจนเลิศพรทวี. (2553). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อการปฐมนิเทศผู้ดูแลเด็กเรื่อง บทบาทและหน้าที่ของผู้ดูแลเด็ก สำหรับผู้ดูแลเด็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 135 - 143.
ธีระกาญจน์ ปกรช์ สันโส. (2556). การพัฒนาชุดฝึกอบรมบนเว็บเรื่องการสร้างบทเรียนอีเลิร์นนิงด้วยระบบ OBECLMS สำหรับครูโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี. วิทยานิพนธ์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปทมรัศมิ์ นาคนิษฐนนต์. (2559). ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครูระดับประถมศึกษา. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย: การสร้างและพัฒนาแบบสอบถาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ด้านสุทธาการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2557). ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2561. จาก : www.qa.kmutnb.ac.th
วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงษ์.
วิทูล ทาชา. (2559). การพัฒนาอีเลิร์นนิ่งเพื่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : กรณีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2562). ภาษาอังกฤษคนไทยวิกฤต. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563. จาก : https://www.tcijthai.com/news/2019/14/current/9464.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ. สํานักมาตรฐานวิชาชีพ สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่. (2562). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา ปี พ.ศ 2562-2565. กระบี่. กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่.
อนุวัต ชัยเกียรติธรรม (2552). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษแบบค่ายกิจกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1. 121 - 129. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อรุณี วิริยะจิตรา, และคณะ. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2560). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ เรื่อง การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 276 - 292.
Dale, E. (1969). Audio Visual Method in Teaching (4th ed). New York: Holt Rinehart and Winston.
EF Standard English test. (2019). EF English Proficiency Index 2019 [Online]. Retrieved January 15, 2020. Available: https://www.ef.com/wwen/epi/
Graham, P. (2015). Improving Teacher Effectiveness through Structured Collaboration: A Case Study of a Professional Learning Community, RMLE Online [Online Serial]. Retrieved September 10, 2018. Available: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/19404476.2007.11462044
Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin. Southwest Educational Development Laboratory.
Jones, L., Stall, G., Yarbrough, D. (2013). The Importance of Professional Learning Communities for School Improvement. Creative Education. 4(5), 357 - 361. Available: http://dx.doi.org/10.4236/ce.2013.45052
Noom-ura, S. (2013). English-teaching problems in Thailand and Thai teacher’s professional development needs. English Language Teaching. 6(11). 139 - 140. Available: https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1078705.pdf
Owen, S. (2016, October). Professional learning communities: building skills, reinvigorating the passion, and nurturing teacher wellbeing and “flourishing” within significantly innovative schooling contexts. Educational Review. Retrieved October 13, 2016. Available: https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/00131911.2015.1119101.
Steed, C. (1998). Web-based instruction. Great Britain: MPG book.
Schlager, D. (2016). Schoology: The Adoption of a Learning Management System. Masters of Arts in Education Action Research Papers. St. Catherine University.