กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของกลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ประกอบด้วย การมุ่งเน้นนวัตกรรม
การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร การมุ่งเน้นวิจัยและพัฒนา ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการตลาด โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 311 ราย สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การมุ่งเน้นนวัตกรรม การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร
การมุ่งเน้นวิจัยและพัฒนา มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่วนการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจไม่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลทางการตลาด ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการพิจารณานำกลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์มาใช้พัฒนาการดำเนินงานในทางธุรกิจให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและเหมาะสมกับสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน และสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทำให้มีผลประกอบการดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สืบค้น 16 เมษายน 2562. จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11661-ministry-of-industry.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ฯ.
กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). กลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจ : ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวของไทย. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2561 หน้า 150-167. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กิตติพันธุ์ ธนผลผดุงกุล. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และผลการดำเนินงาน : หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. งานวิจัยสนับสนุนโดยคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณภัทร ทิพย์ศรี, สุจิตตา หงส์ทอง และธนีนุช เร็วการ. (2557). บทบาทของกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีต่อศักยภาพทางการตลาดของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2557 หน้า 174 - 182. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ทรงธรรม ดีวาณิชสกุล และวิสันต์ หวังวรวงศ์. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการผลิตขวดแก้ว สำหรับพนักงานควบคุมเครื่องขึ้นรูปขวดแก้ว. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2557 หน้า 83-91. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย : แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
ปนัดดา แก้วตรีวงษ์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพทางนวัตกรรมกับผลประกอบการของธุรกิจส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนา สีดี. (2559). พันธมิตรทางธุรกิจ: องค์ประกอบของการสร้างพันธมิตร กระบวนการเรียนรู้ และประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านพันธมิตร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559 หน้า 254 - 264. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
ไวพจน์ ดวงจันทร์, จุฑามาส ทองบัวร่วง และภูมิพัฒน์ ชมพูวิเศษ. (2558). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า จากการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของที่ระลึก : กรณีศึกษาแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558 หน้า 1 – 7. วิทยาลัยสันตพล.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2562). เอกสารการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 3/2563. พระนครศรีอยุธยา : ม.ป.ท.
องอาจ นัยพัฒน์. (2554). การออกแบบการวิจัย : วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสาน วิธีการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aaker, D.A., Kumar, V. and Day, G.S.. (2001). Marketing Research. New York : McGraw Hill.