การพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ เพื่อศึกษา 1) บริบทของเทศบาลตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ต่อเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน 2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อเรื่องการพัฒฟนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน 3) แนวทางการจัดการเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ในส่วนบริบทของเทศบาลตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ต่อเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน คือ 1) การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน 2) การจัดการเครือข่ายความรู้และการเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น 3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกมิติ 4) การเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชนท้องถิ่น ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน 1) ขาดการสนับสนุนในด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดการความรู้ 2) ขาดจิตสำนึกเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จิตสาธารณะ 3) ขาดการสนับสนุนในด้านระบบความสัมพันธ์และความเอื้ออาทร (4) ขาดการสนับสนุนในด้านระบบฐานข้อมูลข่าวสาร ส่วนแนวทางการเรื่องการพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน คือ 1) แนวทางด้านการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม 2) การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ชุมชน 3) แนวทางด้านการดำรงอยู่อย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (4) แนวทางด้านการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงค์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธสำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด. 36 - 43
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2550). ธุรกิจชุมชนเส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ : บรัท เอ็กเปอร์เน็ท จำกัด.
นเรศ สงเคราะห์สุข. (2541). จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. เชียงใหม่ : สำนักงานโครงการพัฒนาที่สูงไทย–เยอรมัน.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย 6 สกว. 7.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบัน ในทวีทองหงส์วิวัฒน์ (บก.), การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภณการพิมพ์.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. รัฐสภาสาร 55. 4 เมษายน. 29 - 34.
วิทยา จันแดง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในเขต จังหวัดภาคกลางตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิสิษฐ์พล ศรีนารถนาวา และคณะ. (2562). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านคำปลาหลาย ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการวิทยาลัยสัตพล. 5(2). 24 - 40.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). วิถีสู่ชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พลังปัญญา. 73 - 94
เสน่ห์ จามริก. (2527). นโยบายกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.