19. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อการขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

Main Article Content

ศศินา ขุนทองวงศ์
ปาณิษตรา บุญส่ง
รุ่งอรุณ หน่อคำ

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ที่ใช้สื่อโชเชียลเป็นเครื่องมือ และผสมผสานกับองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง แสดงให้เห็นถึงพลังของภาคประชาชนทั้งชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ที่เชื่อมโยงประสานความร่วมมือกันในการรณรงค์ต่อต้านการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทวงคืนผืนป่า แม้ว่าโครงการก่อสร้างที่ได้ดำเนินไปแล้วจะเป็นโครงการของรัฐและได้รับอนุญาตให้ดำเนินการก่อสร้างอย่างถูกกฎหมายก็ตาม ทั้งนี้กลุ่มภาคีเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ยังได้เรียกร้องให้ทางเจ้าของโครงการก่อสร้าง หลังจากคืนพื้นที่แล้วให้ดำเนินการปลูกป่าทดแทน โดยยึดถือแนวเขตป่าสมบูรณ์เดิมเป็นหลักในการคืนพื้นที่เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และระบบนิเวศน์วิทยาให้คงความสมบูรณ์ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biography

ปาณิษตรา บุญส่ง, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ โทร 0828892521

References

กระทรวงยุติธรรม. (2561). เอกสารประกอบการประชุมหารือกับส่วนราชการ และตัวแทนเครือข่าย ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดเชียงใหม่.

กองนิติกร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2554). พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535. [On-line]. Available: http://portal.dnp.go.th/Law [2554, ตุลาคม 7]

กุศล พยัคฆ์สัก. (2555). การเมืองวัฒนธรรมของคนหนุ่มสาวในการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ กรณีศึกษากลุ่มผู้นำหนุ่มสาวของเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บทความ “บ้านศาลในป่าแหว่ง” บทสะท้อนความย้อนแย้งนโยบายทวงคืนผืนป่า. คสช. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561 จาก [On-line]. Available: https://www.bbc.com/thai/thailand-43708707 [2561 พฤศจิกายน 9]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก. 1 - 99.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก. 1 - 127.

วราลักษณ์ ไชยทัพ. (2559) ชุดความรู้ นวตกรรมการทำงานและบทบาทใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดิน-ป่าไม้ ภาคเหนือ. เชียงใหม่ : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ.

สัณฐิตา กาญจนพันธุ์. (2540). ความร่วมมือในการจัดการป่าระหว่างวัดกับรัฐ กรณีป่าชุมชนวัดพระธาตุดอยจอมแจ้ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักกฎหมาย กรมป่าไม้. (2557). พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484. [On-line]. Available: https://new.forest.go.th/economy/wp-content/uploads/sites/86/2016/08/1.pdf. [2561 พฤศจิกายน 9]

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552). พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504. [On-line]. Available: http://www.codi.or.th/downloads/laws/law/Laws_environment_agriculture-6.pdf. [2561 พฤศจิกายน 22]

ฮัสสัน ดูมาลี. (2555). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลอ่าวปัตตานี กรณีศึกษากลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์อ่าวปัตตานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรพรรณ เชื้อสุนทรโสภณ. (2562). สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2019) : กรกฎาคม - ธันวาคม 2562