11. พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20

Main Article Content

ยืนยง ไทยใจดี
ชานนท์ เศรษฐแสงศรี
มีศักดิ์ แสงศิลา
วรพล คล่องเชิงศร
วิทร วิภาหัสน์
มิลินทร์ เจริญชนม์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา  2) เพื่อศึกษาสภาพการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา  3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาพหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ครูผู้สอน จำนวน 312 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise)  ผลการวิจัย  พบว่า 1) พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน  2) สภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 3) พหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง (r = .872)  โดยสมรรถนะหลักด้านการพัฒนาตนเอง มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูงสุด รองลงมาคือ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม  ส่วนสมรรถนะหลักด้านที่มีความสัมพันธ์ต่ำสุดคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์  4) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise  multiple regression analysis)  ของพหุสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อสภาพการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20  พบว่า  สมรรถนะหลักของผู้บริหาร 3 ด้านคือ ด้านการพัฒนาตนเอง (X3)  ด้านการทำงานเป็นทีม (X4)  และด้านการบริการที่ดี (X2) ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  โดยมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.67 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยโดยรวมเท่ากับ 0.76

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพัชร หินแก้ว. (2557). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารวิชาการวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิตอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2556). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ธัญยธรณ์ ศรีเสาวลักษณ์. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

นลพรรณ ศรีสุข. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุบผา พวงมาลี. (2552). การรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เปี่ยมพงศ์ นัยบ้านด่าน. (2557). องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization). (Online)/available URL http://www.natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm.

พเยาว์ สุดรัก. (2556). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพลิน บุญนา. (2561). ลักษณะความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

วีระวุธ มาฆะศิรานนท์. (2554). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศักดา มัชปาโต. (2555). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สิริกาญจน์ จิระสาคร. (2556). การศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สฤษดิ์ เรืองแก้ว. (2554). สมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 7. รายงานการสศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). สมรรถนะการบริหารงานที่ทำให้องค์กรเกิดการยอมรับ. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2551. http://www.kroobannok.com/blog/36790.

สุจิตรา ยีหวังเจริญ. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

หนูกันฑ์ ปาโส. (2562). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด.

อมร สายใจ. (2560). องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2001). Education Administration: Theory, Research, and Practice. Singapore: McGraw-Hill.

McClelland, D.C. (1973). Testing for Competence Rather than for Intelligence. American Psychologist.