7. การศึกษาปัจจัยการโหยหาอดีตของกลุ่มผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทย

Main Article Content

สุรพัสตร์ ภัทรานนท์อุทัย
อาษา ตั้งจิตสมคิด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการแสดงออกการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนไทยที่เล่นรถ Tamiya Mini 4WD 2) ศึกษาปัจจัยอันทำให้เกิดการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนไทยที่เล่นรถ Tamiya Mini 4WD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้จำนวน 18 คน ได้แก่ กลุ่มคนที่มีประสบการณ์เข้าร่วมการแข่งขันระดับเอเชียและระดับโลก กลุ่มคนที่เคยได้รับตำแหน่งชนะเลิศอันดับ 1 ใน 5 ของระดับเอเชียและระดับโลก กลุ่มผู้จัดการแข่งขันและกลุ่มตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากบริษัท TAMIYA โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดล้วนเคยรับชมการ์ตูนเรื่อง Let’s & Go เครื่องมือที่ใช้คือ เค้าโครงคำถามปลายเปิด ค่าคุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และความเชื่อมั่นทั้งหมดเท่ากับ 0.98  การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัภาษณ์เชิงลึก


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ตูนเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือการ์ตูน การ์ตูนโทรทัศน์ และภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งกลุ่มคนไทยที่เล่นรถนิยมรับชมการ์ตูนทางโทรทัศน์มากที่สุด การ์ตูนเรื่องนี้ถูกนำออกอากาศทางโทรทัศน์ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และกลุ่มผู้ชมที่เล่นรถจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 6 – 12 ปี จึงทำให้เกิดการถวิลหาความประทับใจในวัยเด็ก และความต้องการที่ไม่ได้มาในวัยเด็ก การโหยหาอดีตจึงแสดงออกมาในรูปแบบของแรงบรรดาลใจและความผูกพันกับการ์ตูนที่เคยรับชมในวัยเด็ก 2) เรื่องราวของการ์ตูนเรื่อง Let’s & go ที่มีความเหมือนกับโลกแห่งความจริง จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการโหยหาอดีต เช่น วิธีการดัดแปลงรถ กติกา การแข่งขัน สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และการเจริญเติบโตของตัวละครจนนำไปสู่ความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2555). ความจริงแท้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต : กรณีศึกษา ชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กฤษริน รักษาแก้ว. (2560). อิทธิพลของรายการในสื่อใหม่ที่มีต่อมุมมองต่อโลกของเด็กและเยาวชน. วารสารสังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2560 หน้า 152 - 169. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิจจัง พันธะพจน์. (2561). การศึกษาเอกลักษณ์และสุนทรีย์ภาพของภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทย ระหว่างพ.ศ.2545- 2558. วารสาร BU Academic Review ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561 หน้า 48-66. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิพัทธพงศ์ พุมมา. (2555). การโหยหาอดีตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง - สาละวิน ปีที่ 3 มกราคม-ธันวาคม 2555 หน้า 47 - 59. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (2553). บทความปริทรรศน์ : ความทรงจำต่ออดีตในงานมรดกศึกษา (Heritage Studies) บทสํารวจเบื้องต้น. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2553 หน้า 27 - 51. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิทยา ยางกลาง. (2563). ความสอดคล้องและความแตกต่างของพฤติกรรมการใช้เวลาว่างตามมุมมองของศาสตร์แขนงต่างๆ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2563 หน้า 1 - 15. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิรัชญา วงษ์อาทิตย์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว เชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559 หน้า 115 - 131. วิทยาลัยดุสิตธานี.