8. การศึกษาอัตลักษณ์และการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทย

Main Article Content

สุรพัสตร์ ภัทรานนท์อุทัย
อาษา ตั้งจิตสมคิด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทย 2) ศึกษาการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทยที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ ได้แก่ เป็นผู้เล่นรถรางทามิย่าไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้เล่นรถรางทามิย่าที่มีประสบการณ์เข้าร่วมแข่งขันไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง และเป็นผู้เล่นรถรางทามิย่าที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันไม่น้อยกว่า 10 รางวัล เป็นจำนวนทั้งหมด 25 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด ค่าคุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ที่ 1.00 การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม


ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ของผู้เล่นรถรางทามิย่าในประเทศไทยถูกแสดงออกผ่านการเล่นรถในชีวิตประจำวัน และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มคนเล่นรถที่มีความชื่นชอบในเรื่องความสนุก ความท้าทาย การวางแผน การคิดดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและความสวยงามของรถ Tamiya Mini 4WD ซึ่งสะท้อนให้เห็นการตอบสนองสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ทั้งความรู้สึก อารมณ์ และทัศนคติ ที่ทำให้เกิดการกระทำหรือพฤติกรรมการเล่นรถจนเกิดเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง และอัตลักษณ์ทางสังคม มีการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและกลุ่ม และรับเอาอัตลักษณ์ของกลุ่มที่ตนเองเป็นสมาชิกมาเป็นอัตลักษณ์ของตนด้วย 2) ผู้เล่นรถรางทามิย่าได้มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ บนพื้นที่จริงและพื้นที่ออนไลน์ ซึ่งมีความเป็นอิสระต่อการเข้าถึง ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มคนเล่นรถและพื้นที่การเล่นรถ และสังคมรับรู้ จดจำกลุ่มผู้เล่นรถรางทามิย่าภายใต้บริบทของชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). การสร้างอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การสร้างพื้นที่ทางสังคมและการดารงอัตลักษณ์ของคนพิการที่ทางานในองค์กรด้านการสื่อสารโทรคมนาคม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2559 หน้า 1443 - 1462. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ สักรินทร์ แซ่ภู่ และปนายุ ไชยรัตนานนท์. (2554). การศึกษาข้อมูลการอยู่อาศัยและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมือง : กรณีศึกษาในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บริเวณริมถนนพระรามสี่ตัดกับถนนวิทยุ. กรุงเทพฯ. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

นุชนาฎ เชียงชัย. (2558). การใช้อัตลักษณ์เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). การออกแบบอัตลักษณ์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต. คณะมัณฑนศิลป์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เผ่าไทย สินอำพล และนฤภัค จันทิมา. (2561). ทุนทางสังคม การเข้าร่วมพื้นที่ทางสังคม และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2561 หน้า 124 - 136. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรพล วรสุวรรณโรจน์ และ พระครูรัตนสุตาภรณ์. (2562). การสร้างพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2562 หน้า 36 - 40. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ศิวพร ศรีวะรมย์. (2559). อัตลักษณ์ของฮิปสเตอร์ในกลุ่มเยาวชนไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุรพัสตร์ ภัทรานนท์อุทัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเรื่องเล่าของ Let's & Go และกลุ่มคนไทยที่เล่นรถ Tamiya Mini 4WD. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โอกามา จ่าแก. (2562). การสร้างพื้นที่ทางสังคมสู่วิถีชีวิตใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาในจังหวัดกำแพงเพชร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.