แนวทางการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

น้ำเพชร ทับทิม
วันทนา อมตาริยกุล
พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษาแนวทางการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่  1  ศึกษาสภาพการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 180 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป  ทางสังคมศาสตร์ โดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านให้การประเมินผล  อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่นๆ ได้แก่ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากรการบริหาร และด้านอารมณ์  อยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน รวมจำนวน  12  คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า  มีแนวทางการสนับสนุนทางสังคมของผู้บริหารสตรีในด้านอารมณ์ มี  2 แนวทาง คือ การปฏิบัติตนต่อผู้บริหารสตรี และให้การเสริมแรงให้ผู้บริหารสตรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ:กรมฯ.

ชวนพิศ บุญพา. (2559). การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในที่ทำงานของครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การ บริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วริศรา บัวโต. (2556). ความไม่เสมอภาคและการเลือกปฏิบัติต่อสรีไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิระดา สมสวัสด์. (2549). ทีทรรศน์สตรีนิยม. เชียงใหม่ : วนิดาเพรส.

แสงวุฒิ แสนสุภา. (2563). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย, วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 6(2); 34. วิทยาลัยสันตพล

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2546). อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2552). ดัชนีการพัฒนามิติหญิงชายของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2554ก). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทบาทสถานภาพสตรีและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). มิติหญิงชาย: แนวโน้มการพัฒนาสู่ความเสมอภาค. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

Thoits, P. A. (1982). Conceptual, methodological, and theoretical problems in studying social support as a buffer against life stress. Journal of Health and Social Behavior, 23(5), 147 - 148.