ความคิดเห็นต่อการเปิดหลักสูตรวิชาชีพครูสมรรถนะสากลตามแนว PISA หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

สุพรรษา น้อยนคร
ชัยณรงค์ ขันผนึก
ชูเกียรติ โพนแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 2) ศึกษาความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณของนักเรียนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิจิตร 3) เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดพิจิตร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรฯ สถิติที่ใช้ข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบสมมติฐาน คือ t-test และ z-test


            ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนและบุคลการทางการศึกษาในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพิตร มีระดับความคิดเห็น  ต่อหลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านความจำเป็นต่อการผลิตและพัฒนาครูอิงสมรรถนะ 2) ด้านสมรรถนะและศักยภาพของครูคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ 3) ด้านความต้องการและจำเป็นต่อการผลิตบัณฑิตครูอิงสมรรถนะสากลสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยการคำนวณ และ 4) ด้านความเชื่อมั่นต่อการผลิตบัณฑิตครูอิงสมรรถนะสากล สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ อยู่ในระดับมากทั้งหมด 2. นักเรียนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดพิจิตร ที่ต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ มีค่ามากกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพ : สุวีริยาสาสน์.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวโน้มเพื่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ภัทราทิพย์ ธงวาส และวิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563 หน้า 39 - 46. วิทยาลัยสันตพล.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). FOCUS ประเด็นจาก PISA. วารสาร สสวท. ฉบับที่ 36 ธันวาคม 2561. กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). เอกสารประกอบการอบรมคณิตศาสตร์ : หลักสูตรเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สสวท.ออนไลน์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี : คลังปัญญา.

Malaty G., (December, 2006), What are the reasons behind the success of Finland in PISA, Matilde 29, (Online), Available: https://www.researchgate.net/publication/305810326_What_are_the_reasons_behind_the_success_of_Finland_in_PISA_Matilde_29_2006_pp4-8, Retrieved November 1, 2018.

Näätänen M., (2008), PISA –survey, Finnish schools, teacher training and math. education, (Online), Available: www.unavarra.es/VIIRDYDM/pdf/PISA%20-survey, %20Finlandia.doc, Retrieved November 1, 2018.