15. การวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการจัดทำบัญชีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อลิษา ประสมผล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ด้านการจัดทำบัญชี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดทำบัญชี กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้  คือ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 9 แห่ง ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ประธานกลุ่ม แห่งละ 1 คน
รวม 9 คน ผู้จัดการหรือคณะกรรมการ แห่งละ 3 คน รวม 27 คน เจ้าหน้าที่บัญชี แห่งละ 2 คน รวม 18 คน รวมทั้งสิ้น 54 คน
ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสำรวจเอกสาร เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Interview form) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ


 ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาในการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ประกอบด้วย 
1) การบันทึกบัญชีไม่เป็นปัจจุบัน 2) เจ้าหน้าที่บัญชีส่วนใหญ่ไม่ได้จบทางด้านการบัญชีโดยตรงและขาดประสบการณ์ในการทำงานด้านการบัญชี ส่วนใหญ่สมาชิกทำบัญชีกันเอง  เนื่องจากขาดงบประมาณในการจ้าง ซึ่งควรมีการจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ทั้ง 3 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1) การจัดทำเอกสารทางการเงินและทะเบียนคุม 2) การจัดทำบัญชีหลักและรายงานการเงิน และ 3) การรายงานสถานะการเงิน ให้กับประธานกลุ่มและผู้ทำบัญชีของ
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่มีส่วยเกี่ยวข้องควรกำหนดรูปแบบ วิธีการจัดทำบัญชีให้เข้าใจง่าย มีความเหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต นอกจากนี้
ควรมีการจัดตั้งกลุ่มในแอพพลิเคชั่นทางระบบการสื่อสาร เพื่อการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ปัญหา อุปสรรค และแนวทาง
การแก้ไขการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิกา อรินใจ. (2553). ปัญหาด้านการจัดทำบัญชีและการควบคุมภายในของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในอำเภอพานจังหวัดเชียงราย. รายงานการศึกษาอิสระ. หลักสูตรปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. (2563). แนวคิดพื้นฐานในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563, https://trang.cdd.go.th/services.

ดวงนภา เพชรแท้. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทับซุงตำบลหวายเหนียวอำเภอท่ามะกาจังหวัด กาญจนบุรี. รายงานการศึกษาอิสระ.หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

แนวคิดการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. (2563). แนวคิดพื้นฐานในการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563, จาก https://korat.cdd.go.th.

พิม พิศา และคณะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัลลภ สุขคำชา. (2554). การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสู่การเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านโคกหนองหินตำบลบุกระสังอำเภอหนองกี่จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุชา สิริจันทร์ชื่น และคณะ. (2560). การศึกษาความสำเร็จของการบริหารงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.