การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬเพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตาม ตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2562 กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน(Krejcie & Morgan, 1970 อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, 2554 : 43)
ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 331 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 77 คน และ ครูผู้สอน 254 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้น(Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น 95% สถิติที่ใช้ของการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. )ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t – test ( Independent Samples ) และวิธีการหาค่าแปรปรวนทางเดียว F – test ( One way ANOVA ) และทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี เชฟเฟ ( Scheffe )
ผลการวิจัยพบว่า 1.) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการพัฒนาและสร้างมาตรฐาน รองลงมาคือ
ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู และด้านที่มีค่าต่ำที่สุดคือ ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน 2.) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของบุคลากรในสถานศึกษาที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวม และรายด้าน 3.) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกัน ไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวม และรายด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ถวิล มาตรเลี่ยม. (2545). การปฏิรูปการศึกษา :โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
ปฐม ปริปุนณังกูร. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานราธิวาสเขต2. สารนิพนธ์ปริญญา ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2548). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาตราด. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชัย ตันศิริ. (2549). อุดมการทางการศึกษา: ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิเชียร ทองคลี่. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการ เรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ.พิมพ์ดีจำกัด.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เอส. ดีเพรส.