ปัจจัยที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา

Main Article Content

กัลยกร ศรีเจ๊ก
นรารัก บุญญานาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการใช้ข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2555 – ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2562 จำนวน 32 ไตรมาส


   ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมของประเทศไทย และนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมส่งผลในทิศทางเดียวกับปริมาณการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐส่งผลในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมะพร้าวประเทศไทย ราคาน้ำมะพร้าวประเทศฟิลิปปินส์ ราคาน้ำมันดิบ และภาวะภัยแล้ง ไม่ส่งผลต่อการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาสูงสุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรม และนโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ราคาไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อน้ำมะพร้าวของประชากรสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทั้งราคาน้ำมะพร้าวไทยและคู่แข่งสำคัญอย่างประเทศฟิลิปปินส์ไม่ส่งผลต่อปริมาณการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าว นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านต้นทุน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบ และภาวะภัยแล้ง ก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการนำเข้าน้ำมะพร้าวไทยไปสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจัยที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการส่งออกน้ำมะพร้าวไทยต้องคอยจับตาดูคือ นโยบายการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่า ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นเป็นนโยบายที่รัฐบาลดำเนินการมาอย่างถูกทิศทางแล้วเพราะส่งผลต่อปริมาณการนำเข้า-ส่งออกน้ำมะพร้าวของประเทศสหรัฐอเมริกาจากประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2563). สถานการณ์สินค้ามะพร้าวในสหรัฐอเมริกา. กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชกรมวิชาการเกษตร.

กรมวิชาการเกษตร. (2562). การจัดการความรู้เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอม. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). ยุทธศาสตร์มะพร้าวเพื่ออุตสาหกรรมของประเทศไทย พ.ศ.2561-2579. สืบค้นวันที่ 27 กันยายน 2563. จาก http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/strategics_2554/04_coconut%202561-2579.pdf

แกมกาญจน์ เหลืองวิรุจน์กุล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้. สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชนิฎา ช่วยนะ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลัดดา บุญทัย. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกยางรถยนต์ของประเทศไทยไปยังไประเทศสหรัฐอเมริกา. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิชากร เกษรบัว. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกในอุตสาหกรรมรถยนต์และการพยากรณ์. ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม. คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ภาณุทัศน์ ตันติวิชยางกูร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ในการซื้อเสื้อผ้าสตรีของคนไทยผ่านทางออนไลน์. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วาทิน ธาวนพงษ์. (2543). ปัจจัยที่กำหนดความต้องการนำเข้ากุ้งแช่แข็งจากไทยของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารี ชัยเสรี. (2554). ผลกระทบของความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนต่อการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม Eviews เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อารีย์ รักษ์ธัญกร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปยังตลาดโลก. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อุทัยวรรณ พูลทรัพย์. (2550). การส่งออกลำไยสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Economic Intelligence Center. (2020). EIC ประเมินการตัดสิทธิGSPรอบใหม่มีผลจำกัดต่อการส่งออกรวม. สืบค้นวันที่ 6 มีนาคม 2564. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/7180.

Economic Intelligence Center. (2020). EIC views that GSP privilege cuts will hurt export products with high GSP dependency, though impact on overall exports remains limited. สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.scbeic.com/en/detail/file/product/6411/fhituno2g8/Note_EN_GSP_20191101.pdf.

Emilia Resis. (2015). Influencing factors on consumer buying behaviour of luxury goods. Turku University.

Damodar N. Gujarati. (2004). Basic Econometrics, Fourth Edition. The McGraw−Hill Companies.

Maria Persson and Fredrik Wilhelmsson. (2006). Assessing the Effects of EU Trade Preferences for Developing Countries. Lund University.

Shushanik Hakobyan. (2020). GSP expiration and declining exports from developing countries. Canadian Economics Association.

United States International Trade Commission. (2021). Imports for consumption. สืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2564. จากhttps://dataweb.usitc.gov/trade/search/Import/HTS.

Xavier Cirera, Francesca Foliano and Michael Gasiorek. (2015). The impact of preferences on developing countries’ exports to the European Union: bilateral gravity modelling at the product level. Empirical Economics journal.