3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออมในกลุ่มประเทศ ASEAN-5

Main Article Content

สิทธิพงษ์ คำนาน
ศิริขวัญ เจริญวิริยะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการออมภายในกลุ่มประเทศ ASEAN-5 ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) แบบอนุกรมเวลา (Time Series data) รายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2562 รวมระยะเวลา 30 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีผลต่อปริมาณการออมในทิศทางเดียวกันพบในประเทศอินโดนีเซีย สัดส่วนประชากรวัยเด็กต่อวัยทำงานมีผลต่อปริมาณการออมภายในทิศทางตรงกันข้ามพบในประเทศอินโดนีเซีย ดัชนีราคาผู้บริโภคมีผลต่อปริมาณการออมมีผลกระทบทิศทางเดียวกันพบในประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซียและสิงคโปร์ แต่มีผลในทิศทางตรงกันข้ามในประเทศอินโดนีเซีย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีผลต่อปริมาณการออมในทิศทางเดียวกันพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ ราคาทองคำมีผลต่อปริมาณการออมในทิศทางเดียวกันในประเทศอินโดนีเซีย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีผลต่อปริมาณการออมภายในทิศทางเดียวกันพบในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซียและไทย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการออมในประเทศกลุ่ม Asean-5 ได้เปลี่ยนจากการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์เพื่อได้รับผลตอบแทนในรูปของอัตราดอกเบี้ยเป็นการออมผ่านสินทรัพย์จากการลงทุน ได้แก่ การลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์หรือการถือทองคำ ดังนั้นธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์ควรต้องมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านดังกล่าวเพื่อให้มีความน่าสนใจเพื่อสนับสนุนการออมในประเทศให้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬารัตน์ สวัสดิผล. (2557). การพยากรณ์การออมภายในประเทศ. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลลดา เหมะธุลิน และจินตนา ชัยชนะ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทําบัญชีครัวเรือนของประชากรในเขตพื้นที่ตําบลกุดสระ อําเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(1), 42 - 49.

บุญคง หันจางสิทธิ์. (2556). เศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปัญญา จอมทะรักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ของการออมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2549). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานฝ่ายเลขานุการกรอบการประชุมระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด. (2561). การรวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูลที่มีผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคมของอินโดนีเซียและมาเลเซีย. สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2564. จาก http://www.cmgfthailand.psu.ac.th/images/DataStorage/62EconomicSocialImpact.pdf.

สุชาติ ศิริวัฒนะ และเหมือนขวัญ รองเดช, (2555). สถานการณ์การออมและการลงทุน และการพัฒนาตลาดทุนไทย: แนวโน้มปี 2556, สืบค้นวันที่ 30 เมษายน 2564. จาก http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article145.pdf.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม Eview เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุษมา กาคำมูล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคของประเทศในกลุ่มอาเซียน-5 โดยวิธีการ ถดถอยแบบพาแนลควอนไทล์. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

SABE, NYEIN. (2017). DETERMINANTS OF SAVINGS IN ASEAN COUNTRIES. MASTER OF PUBLIC POLICY, KDI School of Public Policy and Management.

Solomon Amare TESSEMA. (2020). DETERMINANTS OF GROSS DOMESTIC SAVING AND ITS TREND ANALYSIS IN TURKEY: A TIME-SERIES OUTLOOK. Istanbul Commerce University.