ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการจัดการข้ามวัฒนธรรมนักท่องเที่ยวอินเดียในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามิติวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวอินเดียที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยว 2) ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวอินเดียที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวอินเดียในประเทศไทย จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอ้างอิง โมเดลสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์เส้นทาง และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวอินเดียมีความคิดเห็นเกี่ยวกับมิติวัฒนธรรมโดยรวมในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
ด้านระยะห่างเชิงอำนาจ รองลงมาคือ ด้านการแสดงออกทางอารมณ์ ด้านความเป็นปัจเจกชนและการรวมกลุ่ม และด้านการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจมีความคิดเห็นโดยรวมในระดับมาก ปัจจัยดึงดูดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยผลักดัน โดยทุกด้านมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยวในการจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พัก และการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ยกเว้นมิติวัฒนธรรมด้านระยะห่างเชิงอำนาจที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อพฤติกรรมการใช้บริการจากบริษัทนำเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=615
กฤตณกร รูปเล็ก. (2562). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟ่ต์ในโรงแรมระดับห้าดาว. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 56-69.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). โครงการศึกษาตลาดนักท่องเที่ยวศักยภาพสูง จีน อินเดีย รัสเซีย. กรุงเทพฯ: อินทัช รีเสิร์ช แอนด์ คอนซัลแทนซี่.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ท้อป.
วณิชยา ศิลบุตร, อัญชนา ลักษณ์วิรามสิริ และธนากร ปักษา. (2559). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเพื่องานแต่งงานและฮันนีมูน รองรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดียกลุ่มกำลังซื้อสูง. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
วีรยา สิรทิพย์สกุล. (2555). การศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมของธุรกิจอินเดียที่เลือกเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive Tour) ในประเทศไทย. การศึกษาอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิญาธร ขุนอ่อน. (2559). มิติทางด้านวัฒนธรรมกับการแสดงความคิดเห็นต่อโรงแรมที่เข้าพักในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยทางเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่พักออนไลน์ของลูกค้าชาวไทยและชาติอื่น ๆ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(1), 53-68.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (2551). แบบจำลองสมการโครงสร้าง: การใช้โปรแกรม LISREL, PRELIS และ SIMPLIS (เทคนิคการวิเคราะห์เชิงปริมาณที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุนทรพจน์ ดำรงค์พาณิช. (2555). โปรแกรม MPLUS กับการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Artigasa, Enrique Marinao, and others. (2017). Determinants of trust towards tourist destinations. Journal of Destination Marketing & Management, 6(4), 327-334. doi:https://doi.org/10.1016/j.jdmm.2017.03.003
Dann, Graham M.S. (1977). Anomie, ego-enhancement and tourism. Annals of Tourism Research, 4(4), 184-194. doi:https://doi.org/10.1016/0160-7383(77)90037-8
Erdogan, KOC, Akdeniz AR. Aybeniz, and Aydin Gulnil. (2017). The Potential Implications of Indulgence and Restraint on Service Encounters in Tourism and Hospitality. Ecoforum, 6(3), 13.
Gaurav, Kunal. (2019). Factors Influencing Destination Choice of Indian Tourists Visiting Abroad–An Analytical Study. Pramana Research Journal, 9(6), 203-217. doi:https://www.pramanaresearch.org/gallery/prj-p1011.pdf
Hofstede, Greet, Gert Jan Hofstede and Michael Minkov. (2010). Cultures and Organizations: Software of the mind. [E-BOOK]. 3rd ed., rev. and enl. USA: McGraw-Hill.
Huang Xiaomei. (2016). Apply Hofstede’s national cultural dimension theory to analyze Chinese tourist behaviors in Potugal tourism. Master Dissertation, Faculty of Entrepreneurship and Studies of Culture, Instituto Universitario de Lisboa.
Jaganathan, A., and Mohanraj M. (2016). A study on Cultural effects on Tourism in India. International Research Journal of Engineering and Technology, 3(11), 1133-1138. doi:https://www.researchgate.net/publication/311614178_A_study_on_Cultural_effects_on_Tourism_in_India
Mthai. (2562). ศักยภาพของตลาดนักท่องเที่ยวอินเดีย และโอกาสของธุรกิจไทย. สืบค้นเมือเมื่อ 14 มกราคม 2562. จาก https://news.mthai.com/economy-news/693118.html
Sabiote-Ortiz, Carmen M., Dolores M. Frías-Jamilena, and J. Alberto Castañeda-García. (2014). Overall Perceived Value of a Tourism Service Delivered via Different Media: A Cross-Cultural Perspective. Journal of Travel Research, 1-18. doi:https://doi.org/10.1177%2F0047287514535844