การรับรู้และความสามารถการสื่อสารที่มีต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี : มหาวิทยาลัยรังสิต

Main Article Content

ณิชกานต์ สุวรรณจันทร์
เฉลิมพร เย็นเยือก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ ความสามารถการสื่อสาร และประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี : มหาวิทยาลัยรังสิต 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี : มหาวิทยาลัยรังสิต จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ ความสามารถการสื่อสารกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี: มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 300 คน โดยใช้การสุ่มตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent  Sample t – test การวิเคราะห์ F – test การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย LSD และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามแบบของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับมหาบัณฑิตมีความคิดเห็นต่อการรับรู้ ความสามารถการสื่อสาร และประสิทธิภาพการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ที่แตกต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี: มหาวิทยาลัยรังสิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) การรับรู้ และความสามารถทางการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในช่วงสถานการณ์โควิด 19 กรณี: มหาวิทยาลัยรังสิตมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php

ชนินทร์ ตั้งพานทอง. (2560). ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์เพื่อเสริมการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย เทียนพุฒ. (2551). บริหารคนในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2563). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนอนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2563 จาก : http://thanompo.edu.cmu.ac.th.

นงลักษณ์ อัจนปัญญา. (2563). เมื่อไวรัสโควิด-19 กําลังพลิกโฉมระบบการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563 จาก https://www.eef.or.th/30577

มติชนสุดสัปดาห์. (2563). การศึกษา / มหา’ลัย รุก ‘เรียน-สอบออนไลน์’ ปรับตัวสู่เทรนด์ใหม่ของโลก. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563 จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_298718

รัทยา เจริญรูป. (2561). การรับรู้สื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นของผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษาในจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 1 – 13.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). รายงานสถานการณ์ประจำวัน. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563 จาก https://spm.thaigov.go.th/kode/HTML/infoma2col-sub.asps=11&b=SUBORG-37&w=015&f=01500033

สุณิสา สำเร็จดี. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการบริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 6(2), 20 – 32.

Timm, I. (1995). The Virtual community: Homesteading on the electronic frontier. Massachusetts: A William Patrick Book.