8. ความเข้าใจพฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะของกลุ่ม เบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

กิตติกันตพงศ์ สุเมธานุภาพ
ปฐมา สตะเวทิน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ
ในการเข้าถึงเฟซบุ๊กแฟนเพจของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กแฟนเพจโดยเน้นไปที่กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม กับผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า พฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ในการเข้าถึงเฟซบุ๊กแฟนเพจของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ได้แก่ ความเหงา ความเครียด ความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (เพิ่มความรู้) ความบันเทิง และการแสวงหาความพึงพอใจ (การเติมเต็ม) นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมเชิงลึกของผู้ชมรายการ The Golden Song เวทีเพลงเพราะ ที่มีต่อการเพิ่มจำนวนผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กแฟนเพจโดยเน้นไปที่กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการมีส่วนร่วมบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ ความต้องการแสดงตัวตน และความต้องการแสวงหาข้อมูลในการสนทนากับบุคคลอื่นในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020.aspx

กัญฐณา สุขแก้ว และชัยนันท์ ปัญญาวุทโส. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายยูทูบของนักศึกษา สาขาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 4(1), 1-9.

จารุพัฒน์ จรุงโภคากร. (2561). ปัจจัยการสร้าง Content Marketing ที่มีอิทธิพลต่อความสนใจในแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในประชากร Gen M. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัชวาลย์ หลิวเจริญ. (2559). การใช้โซเชียลแมสเสจจิง ในการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือและจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคลในองค์กร. วารสารนักบริหาร, 36(1), 79-87.

นันท์นภัส ดอกไม้ทอง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของพนักงานกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าเขตปทุมวันและเขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด. (2564). The Golden Song เวทีเพลงเพราะ. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564. จาก https://www.one31.net/shows/detail/373fbclid=IwAR3etdtFvJXoxbhoEulyClli7tlXb1xLdwsLLpyG55oCC8eqUMWUy8rCzW4

บุหงา ชัยสุวรรณ. (2561). การจัดกลุ่มและหาคุณลักษณะของกลุ่มดิจิทัลอิมมิแกรนท์ตามพฤติกรรมการสื่อสารในบริบทออนไลน์และปัญหาทางความสัมพันธ์กับสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับชมละครโทรทัศน์ของวัยรุ่นในภาคใต้ตอนล่าง. สาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). How to HOOK เทคนิคมัดใจลูกค้ายุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิภาวี จันทร์แก้ว. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และการใช้ประโยชน์ กรณีศึกษาเฟซบุ๊กแฟนเพจ ดังตฤณแฟนคลับ. Journal of Communication and Management NIDA, 2(1), 134-152.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการศึกษาโครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย. สืบค้นจาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/621200000005.pdf

Can, L., & Kaya, N. (2016). Social Networking Sites Addiction and the Effect of Attitude towards Social Network Advertising. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 235(October), 484–492.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data analysis: An expanded sourcebook (2nd ed.). Sage Publications.

Zhang, K., Kim, K., Silverstein, N. M., Song, Q., & Burr, J. A. (2020). Social Media Communication and Loneliness Among Older Adults: The Mediating Roles of Social Support and Social Contact. The Gerontologist.