ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ รายวิชาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจของนักศึกษาปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณตามแนวคิดของเดวีส์ รายวิชาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ ของนักศึกษาปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณของผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณตามแนวคิดของเดวีส์ รายวิชา ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณตามแนวคิดของเดวีส์ รายวิชา ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนใน รายวิชา ระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน ใช้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติตามแนวทางของเดวีส์ จำนวน 6 แผนการเรียนรู้ 2) แบบวัดทักษะปฏิบัติ
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณตามแนวคิดของเดวีส์ มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 2) ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคำนวณ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนในภาพรวม มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กมลพร ทองธิยะ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดและการสอนแนะที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลแบบอุปนับทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษา สาขาวิขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารวิชการวิทยาลัยสันตพล, 5(1), 118-129.
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ. คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด (2558). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ. สุวีรียาสาส์น.
บุปผา กัติยัง (2556). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะปฏิบัติการทำขนมในท้องถิ่นสงขลาและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ
พูลสวัสดิ์ มาลา, สมชาย วรกิจเกษมสกุล, และ ชาติชาย ม่วงปฐม. (2561). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 6(1), 87-100.
วราภรณ์ กิจเครือ. (2556). การพัฒนาแบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การใช้งานโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดพระศรีอารย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ศิริกนก สุวรรณธาดา. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นทักษะกระบวนการ สาระเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เอกศักดิ์ แหชัยภูมิ, ทรงศักดิ์ สองสนิท และประวิทย์ สิมมาทัน (2561). ผลของรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์เสริมด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและสวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(2), 20-29.
Davies, I. K. (1971). The management of learning. London: McGraw-Hill.
Simpson, D. (1972). Teaching physical education: A system approach. Boston: Houghton Muffin