10. การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อศักยภาพที่พักโฮมสเตย์ หมู่บ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา
สุจิตรา ริมดุสิต
ปานฤทัย เห่งพุ่ม
ชิดชม กันจุฬา
ฉันทัช วรรณถนอม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์หมู่บ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี 2) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของโฮมสเตย์ชุมชนคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed methods) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวจำนวน 420 คน และสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเจ้าของที่พักโฮมสเตย์จำนวน 15 ท่าน เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานคือ t-test และ ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง มีระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -2.452 และ P-value = 0.015) กลุ่มตัวอย่างอายุแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 4.176 และ P-value = 0.006) กลุ่มตัวอย่างระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 3.404 และ
P-value = 0.034) กลุ่มตัวอย่างอาชีพแตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 3.747 และ P-value = 0.005) กลุ่มตัวอย่างระดับรายได้แตกต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพของโฮมสเตย์ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 14.259 และ P-value = 0.000)


ส่วนแนวทางการพัฒนาศักยภาพของโฮมสเตย์ชุมชนคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี  จากการศึกษาควรมีการจัดสรรงบประมาณมาสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน ควรมีการส่งเสริมด้านการตลาดที่เหมาะสมให้กับโฮมสเตย์ ควรเพิ่มกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างคนในชุมชน หน่วยงานต่างๆ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในช่วงระยะเวลาที่ได้รับรองมาตรฐาน ควรมีการติดตามและประเมินผลด้วยชุมชน โดยเริ่มจากการร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาภายในชุมชนก่อน และจึงขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนแก่ท้องถิ่นของโฮมสเตย์ชุมชนคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (2546). เกณฑ์มาตรฐานโฮมสเตย์ไทยเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. จาก website: www.tourism.go.th.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ ที่ได้รับรองมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). หมู่บ้านคีรีวงกต. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. จาก https://thai.tourismthailand.org.

จินตนา กงเพชรและคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อการบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดหนองบัวลำภู, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (9)3, 167-184.

เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา

ธาริดา สกุลรัตน์. (2559). การศึกษาเอกลักษณ์เพื่อหาแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่พักสัมผัสวัฒนธรรชนบท(โฮมสเตย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์ (2561) ระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการใช้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 13(2), 25-36

แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ.2561-2564 ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จาก https://www.udonthani.go.th/2014/download/datacenter/Development_Plan61-65(Recover65).pdf

แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7526

สาวิณีย์ พลเยี่ยม. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว เชิงผจญภัย หมู่บ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. (2561). แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7526.

สุภา สังขวรรณ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดสมุทรสงคราม, Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University, 4(1), 1-9.

อาวุธ วงศ์สว่าง. (2564). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มธุรกิจทอผ้าวิสาหกิจชุมชน กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านสามทอ ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, (7)2, 189-196.