ศักยภาพในการปรับตัวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อรรถพล ศิริเวชพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาผลกระทบด้านการท่องเที่ยวจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และความต้องการปรับตัวของชุมชน และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้นำชุมชน 5 คน 2) กลุ่มผู้นำจากสถาบันศาสนา 2 คน 3) กลุ่มผู้นำจากภาครัฐ 2 คน และ 4) กลุ่มชาวบ้านทั่วไป 18 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน เครื่องมือที่ใช้คือการระดมความคิดเห็น ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนเมษายน - สิงหาคม พ.ศ. 2564


ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวมีความสอดคล้องระหว่างการท่องเที่ยวชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ 2) กรณีผลกระทบด้านการท่องเที่ยว พบว่าระหว่างเดือนเมษายน - สิงหาคม พ.ศ. 2564 ไม่สามารถให้บริการนักท่องเที่ยวได้ ทว่าคนในชุมชนต้องการที่จะปรับตัวเพื่อหารายได้ทดแทน โดยการผลิตสินค้าอัตลักษณ์ท้องถิ่นออกจำหน่าย และ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน คนในชุมชนเห็นว่ามาตรฐาน SHA ควรมีการนำมาใช้เร่งด่วนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวหลังโควิด 19 โดยให้มีการจัดโครงสร้าง 3 ด้าน คือ ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ ซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่ใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) การต้อนรับนักท่องเที่ยว
มีการกำหนดจุดคัดกรอง เช็คอิน โดย อสม. มีส่วนร่วม 2) การให้บริการนักท่องเที่ยว มีการปรับรูปแบบการบริการอาหาร ที่พักรับชำระสินค้าด้วยรูปแบบไร้เงินสด การใช้ฉากกั้นตามจุดต่าง ๆ การกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ และ 3) การส่งนักท่องเที่ยว มีการให้เช็คเอาท์ และติดตามภาวะสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับไปแล้ว อย่างน้อย 14 วัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). โควิด-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. กรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนดำเนินงานโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA). กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

คมชัดลึก. (2564). 1 กันยายน คลายล็อกดาวน์ วันแรก ทบทวนมาตรการผ่อนคลาย. กรุงเทพฯ : คมชัดลึก.

เทศบาลตำบลเมืองจันทร์. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลเมืองจันทร์. ศรีสะเกษ : เทศบาลตำบลเมืองจันทร์.

ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม. (2564). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสันตพล, 7(2), 114-127.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 ในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสากรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

บีบีซี. (2564). วัคซีนโควิด อนุทิน นำ 3 รัฐมนตรีอายุไม่เกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนโควิด – 19 เข็มแรก. กรุงเทพฯ : บีบีซี.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์.

ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2563). คู่มือเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและแรงงานผ่านการท่องเที่ยวแนวปฏิบัติในการเยียวยาสังคมและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงการฟื้นฟูการท่องเที่ยวให้กลับคืนอย่างเร่งด่วน. กรุงเทพฯ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). อนาคตของการท่องเที่ยวอยู่ตรงไหนในยุคโควิด-19. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2563). แนวทางป้องกันโควิด-19 สำหรับชุมชนท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

อรพรรณ ปถมเล็ก. (2563). ธรรมชาติเชิงวิพากษ์ : การท่องเที่ยวชุมชนในประเทศไทย: ผลกระทบและการฟื้นฟูจากการระบาดของโรค COVID-19. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ASEAN Tourism Association. (2020). Stabilising Cost of Travel Key to Minimising COVID-19 Impact. Putrajaya: ASEANTA.

Pacific Asia Travel Association. (2020). PATA Conducts “The Future of Tourism” Interview Series to Provide COVID-19 Recovery Insights. Bangkok: PATA.

World Tourism Organization. (2020). COVID-19 Related Travel Restrictions. Madrid: UNWTO.

World Tourism Organization. (2020). Covid-19 Tourism Recovery Technical Assistance Package. Madrid: UNWTO.