การศึกษาสัมพันธภาพผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำไปใช้ในการสร้างภาพยนตร์โฆษณา จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาสัมพันธภาพระหว่างผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและวัฒนธรรมท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อสร้างภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการ จำนวน 85 คน และผู้นำชุมชน 7 ชุมชน จำนวน 35 คน การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาเอกลักษณ์ของชุมชน โดยสำรวจความต้องการในเขตพื้นที่กลุ่มประชากร คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ STUCDIT จังหวัดอุดรธานี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล In-depth interview ระยะที่ 2 ศึกษาสัมพันธภาพผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี และวัฒนธรรมท้องถิ่นท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะจง Focus Group Interview จากกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 3 สร้างภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี โดยการนำข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 มาวิเคราะห์แล้วสร้างเรื่องราวโดยถ่ายทอดผ่านสื่อภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี ระยะที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจในภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณ โดยใช้ค่าเฉลี่ย , SD และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
- เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจังหวัดอุดธานี พบว่า มีเส้นใย 2 ประเภท คือ ไหมและฝ้าย ใช้เทคนิคการทอ 2 ลักษณะ คือ มัดหมี่และขิด ซึ่งย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีเคมี ทอด้วยกี่โบราณและกี่กระตุก การนำธรรมชาติที่มีในชุมชนมาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลาย พิธีกรรม ความเชื่อ สะท้อนผ่านลวดลายพญานาค และวิถีชีวิตความเป็นไทยพวนนำมากถ่ายถอดผ่านผ้าทอมือ
- สัมพันธภาพระหว่างผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี การทอผ้าถือเป็นชีวิตของหญิงชาวอีสานที่ทอไว้ใช้ในครัวเรือนมาแต่อดีต โดยถือว่าเป็นงานจำเป็นของผู้หญิงอีสานที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ชำนาญ และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าผู้หญิงคนนั้นมีความเหมาะสม มีคุณสมบัติความพร้อมที่จะสามารถออกเรือนได้ การทอผ้าจึงสะท้อนสัมพันธภาพระหว่างชาวอีสานกับธรรมชาติที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือในการผลิตเครื่องนุ่งห่ม
- การสร้างภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ มีการรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการผลิตภาพยนตร์โฆษณา Preproduction การโฆษณาที่จำดำเนินการเกี่ยวกับผ้าทอ การผลิตสื่อ Production ข้อมูลที่ได้มาผลิตเป็นภาพยนต์โฆษณา โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1 การนำข้อมูลมาเขียนบทภาพยนตร์ 2 สร้าง Story board (บทภาพ) 3 สร้างเป็น Animatic (บทภาพเคลื่อนไหว) Post Production ดำเนินการโดย 1 ถ่ายทำภาพยนต์ 2 นำไฟล์ต้นฉบับที่ได้มาตัดต่อ (Video Editing) 3 นำภาพยนตร์โฆษณาที่ได้ มาให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจ
- ความพึงพอใจของชุมชนต่อภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ จังหวัดอุดรธานี พบว่า ผู้ประเมินมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาในระดับมากในภาพรวม ( = 4.16) ด้านเนื้อหาความเหมาะสมและน่าสนใจ ( = 4.55) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ ความถูกต้องของเนื้อหา (= 4.00) ส่วนความพึงพอใจด้านการออกแบบภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือมีความพึงพอใจในระดับมากในภาพรวม (= 4.07) ส่วนด้านที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุดคือ ความเหมาะสมของสื่อ ( = 4.05) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ดวงใจ ชุมนุมมณี, (2552). การศึกษาเรื่องกระบวนการการถ่ายทอดบุคลิกภาพของผลิตภัณฑ์ในการสร้างภาพยนตร์โฆษณาของผู้กำกับ : จากกลยุทธ์สู่แผ่นฟิล์ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ทรงศิริ สาประเสริฐ. (2542). ลักษณะการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง). มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทัศวรรณ ธิมาดา, รัตนา ณ ลำพูน และทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2557). การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาเรื่อง การทอผ้ายกลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บดินทร์ เดชาบูรณานนท์. (2561). ระบบสัญลักษณ์ และเทคนิคการนำเสนองานโฆษณาสินค้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อนิตยสาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 16(19), กรกฎาคม – ธันวาคม: 142 - 163.
ประไพศรี สร้อยคำ. (2536). ผ้าไหม : คติความเชื่อเกี่ยวกับการทอและการใช้ผ้าไหม. กรุงเทพมหานคร
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2558). ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบรายงานประจำปี 2552 TCDC Annual Report 2009.