การออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวทะเลบัวแดง บึงหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทะเลบัวแดง ตั้งอยู่ในบึงหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย พันธุ์นก พันธุ์ปลา และพืชน้ำ เป็นจำนวนมาก ซึ่งในทุกปีเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม ไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะนิยมเดินทางมานั่งเรือเพื่อชื่นชมความงดงามของดอกบัวแดงที่ผลิบานอยู่เต็มท้องน้ำ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ทะเลบัวแดง” และยังมี “เทศกาลทะเลบัวแดงบาน บึงหนองหานกุมภวาปี” ที่ถูกจัดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานีเป็นอย่างมาก หากแต่ยังขาดสัญลักษณ์หรือตัวแทนที่จะช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นความสนใจให้แก่ผู้คน ได้รับรู้ถึงแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มากยิ่งขึ้น
โดยในปัจจุบันมาสคอต (mascot) หรือการ์ตูนสัญลักษณ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอย่างมากในการเข้ามาช่วยปรับภาพลักษณ์ให้มีความทันสมัย หรือเพิ่มเสน่ห์ในการดึงดูดใจ และสร้างภาพจำให้กับสินค้า จากข้อมูลข้างต้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนามาสคอต เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่การท่องเที่ยวทะเลบัวแดง ผ่านการ์ตูนสัญลักษณ์ที่มีรูปแบบเฉพาะตัวโดยมีที่มาจากเอกลักษณ์สำคัญที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี
ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นให้เห็นถึงขั้นตอน และวิธีการออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์ ที่ได้จากการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น รวมถึงเพื่อประเมินความพึงพอใจกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนที่มีต่อการ์ตูนสัญลักษณ์ โดยการอภิปรายผลการวิจัยพบว่า ตัวแทนคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวบ้านเดียม มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ดอกบัวสาย และนกกระยาง มีความเหมาะสมในการเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ให้กับแหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง บึงหนองหาน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เนื่องจากเป็นสายพันธุ์พืช และสัตว์ที่มีมากในบึงหนองหาน และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือสีสันที่มีความสวยงาม ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อการ์ตูนสัญลักษณ์ โดยกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ด้านความสอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความน่าจดจำ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ด้านมีลักษณะเฉพาะ มีความพึงพอใจในระดับมาก ด้านความเหมาะสมต่อการใช้งาน อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งชาติ. (2558). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งชาติการนโยบายการท่องเที่ยว. วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2564. จาก http://www.daco-thai.com.
คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จังหวัดอุดรธานี. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานี ประจำปี พ.ศ. 2561 – 2565 (ทบทวนปี 2563). วันที่สืบค้นข้อมูล 18 มิถุนายน 2564. จาก http://www.udonthani.go.th/main/strategy.
ประไพพรรณ เปรื่องพงษ์ และ เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา (2558). การออกแบบมาสคอตสำหรับงานอีเว้นท์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(2), 59-68.
ไพโรจน์ ธีระประภา. (2558). อัตลักษณ์ของที่ระลึกและกราฟิกดีไซน์สะท้อนพื้นถิ่น. นิตยสาร in design ฉบับที่ 148 ตุลาคม - พฤศจิกายน 2558. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ industrial network จํากัด.
รักเกียรติ ศรีลาวงศ์. (2560). ประวัติการจัดงานทะเลบัวแดงบ้านเดียม อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วันที่สืบค้นข้อมูล 23 พฤษภาคม 2563. จาก https://sites.google.com/site/clashsarunya/prawati-thale-baw-daeng.
ศิริพร ปีเตอร์. (2560). การออกแบบกราฟิก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ประเทศไทย.
Home Cable TV. (2562). มาสคอตประจำจังหวัดอุดรธานี. โฮมเคเบิ้ลออนไลน์. วันที่สืบค้นข้อมูล 19 มิถุนายน 2563. จาก http://nwnt.prd.go.th/CenterWeb/News.