14. รูปแบบการลงโทษนักเรียนและแนวทางในการควบคุมให้เกิดการลงโทษนักเรียนที่เหมาะสม ในสถานศึกษา

Main Article Content

ภาณุกฤษฏิ์ พิศิษฎ์สกุลชัย
เสกสัณ เครือคำ
โสรัตน์ กลับวิลา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการลงโทษของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของครูกับการเลือกรูปแบบการลงโทษในสถานศึกษา  3) ศึกษาเงื่อนไขสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงโทษของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 และ 4) หาแนวทางการควบคุมในการลงโทษนักเรียนตามกรอบของกระทรวงศึกษาธิการ ประชากร คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 843 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของทาโร่    ยามาเน่ จำนวน 271 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  ใช้เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การหาค่าความถี่ (frequency distribution) ค่าร้อยละ (percentage) สถิติ Chi-square และสถิติ Cross tabulation


ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ครูส่วนใหญ่เลือกรูปแบบการลงโทษตามระเบียบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ การทำทัณฑ์บน  ว่ากล่าวตักเตือน ตัดคะแนนความประพฤติ และให้ทำกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม    2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและการมีบุตรหรือเด็กในการอุปการะกับไม่มีบุตรหรือเด็กในการอุปการะ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกรูปแบบการลงโทษนักเรียน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านตำแหน่ง อายุราชการ วิทยฐานะ  ระดับการศึกษา และสถานภาพ มีความสัมพันธ์ที่กับการเลือกรูปแบบการลงโทษนักเรียนในบางฐานการกระทำผิดเท่านั้น 3) เงื่อนไขสำคัญในการเลือกรูปแบบการลงโทษโดยการเฆี่ยนตี ให้พักการเรียน ให้ย้ายสถานศึกษา วิ่งรอบสนาม/ดันพื้น/ลุกนั่ง ให้พ้นสภาพการเป็นนักเรียน และนำมาเป็นกรณีตัวอย่างหน้าเสาธง เป็นการลงโทษตามการกระทำผิดที่เป็นการกระทำความผิดซ้ำตั้งแต่สถานเบาจนถึงสถานหนัก 4) แนวทางการควบคุมในการลงโทษนักเรียนตามกรอบของกระทรวงศึกษาธิการ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหาร หรือครูผู้สอน ควรนำระเบียบการลงโทษนักเรียนภายใต้กรอบการลงโทษของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถวิล อรัญเวศ. (2561) .ลงโทษนักเรียน นักศึกษาอย่างไร จึงจะไม่ถูกผู้ปกครองฟ้องร้องความผิด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2564. จาก https://www.obec.go.th/archives/677.

ธัญญ์นภัส วิรัตน์เกษม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมในวิถีชีวิตความปกติใหม่ (New Normal) ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 114 – 127.

นันท์นลิน อินทะนัก. (2563). ปัญหามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษโดยใช้ความรุนแรงกับเด็กในโรงเรียน. บทความวิชาการ. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเลิศ โพธิ์ขำ. (2559). ปัญหาของกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 1-9.

พชรพร พงษ์อาภา. (2561). อำนาจของครูในการลงโทษนักเรียนและการใช้กำลังทางกายภาพในสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณรุจี สะอาด. (2558). ปัญหาวินัยนักเรียนของโรงเรียนบ้านแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2557). จิตวิทยา : แนวคิดทฤษฎีการศึกษาการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(1), 1-13.

สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ.(2558). แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.