15. แนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชัยวัฒน์ สารักษ์
เขมณัฐ ภูกองไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ พนักงานเทศบาล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง ของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และเทศบาลตำบลอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี รวมจำนวน 233 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล และประชาชนผู้มาใช้บริการ รวมจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่เป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งมีโครงสร้าง ค่าคุณภาพของเครื่องมือโดยการทดสอบค่าอัลฟ่า เท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล


ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) ปัจจัยภายในที่มีต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าลำดับที่ 1 คือ การส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง รองลงมาลำดับ คือ การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลของการพัฒนา 2) ปัจจัยภายนอกที่มีต่อการกำหนดแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมเห็นด้วย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ลำดับที่ 1
คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างยั่งยืนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รองลงมาลำดับ คือ กิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นไม่ควรทำลายสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน


   ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ผลที่สอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ต้องยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและมีความยั่งยืน ประชาชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองและยืนได้ด้วยตนเอง การบูรณาการร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ประชาชน รัฐวิสาหกิจ องค์กร และกลุ่มต่าง ๆ ในท้องถิ่น โดยต้องให้การพัฒนามีความยั่งยืน โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจนพรรษณ์ จุพรมณี. (2561) การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณาการของหมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ภคมน อินทร์น้อย. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลน้ำคอก อำเภอเมือง จังหวัดระยองอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์วิชาการ.

วาสนา อาจสาลิกรณ์. (2561). วัฒนธรรมชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิชิต ดวงธิสาร, ไพรัช บุญประกอบวงศ์ และสิทธิเดช วงศ์ปรัชญา. (2564). การพัฒนากระแสทางเลือกกับความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษา เทศบาลตําบลบ้านเต่า อําเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(1), 49-57.

เอกพงษ์ หิริธัมโม. (2561). รูปแบบพุทธพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของศูนย์พัฒนาคุณธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ วัดป่านาคำตำบลจุมจังอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Laksaniyanon, B. (2015). Acceptance theories for behavior in conducting research: Instructors in the rajabhat university system, thailand (Doctoral dissertation, University of North Texas.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York McGraw-Hill.

Pookongchai, K. (2019). High-performance Organization Model: The Subdistrict Municipality Case Study. Humanities and Social Sciences, 36(2), 74-101.

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2012). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health / Lippincott Williams& Wilkins.

Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in nursing and health research. (4th ed.). New York: Springer.