16. แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาจังหวัดเลย

Main Article Content

สจี กุลธวัชวงศ์
สถิตย์ กุลสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดเลย 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดเลย จำนวน 122 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจงเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแนวคำถามการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา  


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การพึ่งตนเองของผู้สูงอายุตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาจังหวัดเลย อยู่ในระดับปานกลาง

  2. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านสุขภาพและจิตใจดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยใช้หลักการพึ่งตนเองตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยด้านทักษะอาชีพและรายได้ ควรมีการจัดแหล่งเรียนรู้ในชุมชน และพัฒนาทักษะอาชีพที่สร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสุขภาพและจิตใจ ควรส่งเสริมผู้สูงอายุใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักคำสอนและหลักธรรมศาสนา จัดสวัสดิการที่เหมาะสมทั้งในด้านสวัสดิการสังคม การส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกาย ด้านสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย ควรปรับสภาพพื้นที่อยู่อาศัยสอดคล้องกับสภาพผู้สูงอายุ และจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางกายและจิตใจ และด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ควรจัดระบบดูแล สวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชนให้ทั่วถึง จัดสวัสดิการด้านแหล่งเรียนรู้ หรือมุมอ่านหนังสือผู้สูงอายุในชุมชน จัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น นำเอาหลักพุทธศาสนาเข้ามาปรับใช้ในการดำรงชีวิตด้านจิตใจ และสติปัญญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561–2580. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). รายงานผลการวิจัยการพัฒนาศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริม อาชีพผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช.

กระทรวงสาธารณสุข. (2551). การศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในสถานบริการ. นนทบุรี: กรมอนามัย.

กัญญาณัฐ ไฝคำ. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 2561.

กิตติวงศ์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 21-38.

จีราวัจน์ จันทสิทธิ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุเทศบาล ตำบลเด่นชัย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 28-37.

ชาญชัย ชัยรุ่งเรื่อง. (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(2), 14-28.

ทักษิกา ชัชวรัตน์ และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2560). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 176-188.

มณีรัตน์ กุลวงษ์, วัชรินทร์ อินทพรหม, เตชิน ตรีชัย และสิริกร ฉัตรภูติ. (2559). รูปแบบในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร, 11(1), 165-174.

มนตรี ตรีอาภรณ์ไพศาล. (2564). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้คุณค่าของงานที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 18-25.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2558). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : พงษ์พานิชเจริญผล.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2563 จาก http://www.dop.go.th/th/know/1

Gardner, H. (1999). Intelligence reframed: Multiple Intelligence for the 2121 Century. Newyork: Basic Books.