2. อิทธิพลของคุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบที่มีต่อการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในประเทศไทย

Main Article Content

วันสิริ ประเสริฐทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบ ที่มีต่อการลดโอกาสของบริษัทในการได้รับการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาเป็นข้อมูลฑุติยภูมิจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 168 บริษัท ประกอบด้วยอุตสาหกรรม ประเภทภาคสินค้าอุตสาหกรรม จำนวน 79 บริษัท และภาคบริการ จำนวน 89 บริษัท แบบเฉพาะเจาะจงที่มีข้อมูลครบถ้วน เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจสอบและการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) การวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวแปร ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน นำมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ถดถอยโลจิสติกส์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์


ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของคณะกรรมการตรวจสอบ ได้แก่ ความเป็นอิสระของคณะกรรมการตรวจสอบ ขนาดของคณกรรมการตรวจสอบ จำนวนการประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ และความเชี่ยวชาญทางการบัญชีหรือการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ  ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการลดโอกาสของบริษัทในการได้รับการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมีนัยสำคัญ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย อนุวัฒน์ ภักดี และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562). ผลกระทบของคะแนนการกํากับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันเวลาของงบการเงิน. วารสารบริหารธุรกิจ, 42(162), 1-26.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/cg/principle_p1.html?printable=true.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). 10 ปี อุตสาหกรรมไทย เรามาไกลแค่ไหน, FAQ Focused and Quick, 165, 1-12.

ภูษณิศา ส่งเจริญ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและผลการดำเนินงาน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 162-172.

ศรัณย์พร รักษาพงษ์ และชุติมา นาคประสิทธิ์. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบการกำกับดูแลกิจการระหว่างบริษัทที่มีความล้มเหลวทางธุรกิจ กรณีศึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วารสารวิชาบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 21-48.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2559). คณะกรรมการตรวจสอบช่วยเพิ่มคุณภาพกำไรหรือไม่, วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(33), 40-49.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และอนุวัฒน์ ภักดี. (2562). ศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการ ลักษณะองค์กร และคุณภาพการสอบบัญชี: หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(1), 101-116.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2561). เอกสารเผยแพร่ของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์. สืบค้นจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/FinancialReport/ALL.

Alkilani, S. Z., Hussin, W. N. W., Salim, B. (2019). The Influence of Audit Committee Characteristics on Modified Audit Opinion in Jordan. Journal of Finance and Accounting, 7(3), 95-106. Retrieved from https://www.sciencepublishinggroup.com/journal/paperinfo journalid=171&doi=10.11648/j.jfa.20190703.14

Chariri, A., Januarti, I. (2017). Audit committee characteristics and integrated reporting: empirical study of companies listed on the Johannesburg stock exchange. European research studies journal. XX (4B), 264-318. Retrieved from https://www.ersj.eu/dmdocuments/2017-xx-4-b-23.pdf.

Munifah, S. and Suryandari, D. (2019). The Influences of the board of commissioners, board of directors, audit committee, managerial ownership, and company size to WDP opinion. Accounting analysis journal, 8(1), 45-57. Retrieved from https://journal.unnes.ac.id/sju/index.php/aaj/article/view/27238.

Shakhatreh, M. Z., Alsmadi, S. A. and Alkhataybeh, A. (2020). The effect of audit fees on disclosure quality in Jordan. Accounting, corporate governance & business ethics. Cogent business & management. Taylor & Francis journals, 7(1), 1-15. DOI:10.1080/23311975.2020.1771076.