ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายใต้ภาวะการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ ในกลุ่มดัชนี SET WELL-BEING INDEX (SETWB)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยจากสถานการณ์ Covid-19 ที่มีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET WELL-BEING INDEX (SETWB) จำนวน 23 หลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) แบบอนุกรมเวลา (Time Series data) ตั้งแต่ 2 มกราคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2564 รวมข้อมูลรายวัน ทั้งหมด 484 ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET WELL- BEING INDEX (SETWB) คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJIA) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ (EXCH) อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (INT) ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐอเมริกา (WTI) และ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทย (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยที่เหลือ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) นั้น ไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความสัมพันธ์กับดัชนีราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET WELL- BEING INDEX (SETWB) นักลงทุนและผู้ที่สนใจสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารการลงทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ถือว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
References
ฉัตรชัย ทิศาดลดิลก, พริษฐ์ เงาเบญจกุล และ ศิริยศ จุฑานนท์ (2563). Theme การลงทุนในเรื่องจำเป็น (SET Essentials). ฝ่ายวิจัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จาก https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1600138626483.pdf.
ณภัทร นพเกตุ. (2564). ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและดัชนีหลักทรัพย์ : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจการเกษตร.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ, ครั้งที่ 16 วันที่ 5-7 สิงหาคม 2564, 200-211.
ธัญญรัตน์ แสงสุริยาโรจน์, ปรมินทร์ โฆษิตกุลพร และ สมบัติ คชายุทธ (2563). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของผู้ลงทุน รายย่อยภายในประเทศผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 429-446.
นารินทิพย์ ท่องสายชล (2563).สัญญาณทางเศรษฐกิจสำคัญ ที่ส่งผลต่อการลงทุน.สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565,จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/76-economic-signs-that-affect-investment.
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์. (2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนในหุ้น.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565, จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/factors-affecting-investment-in-stocks.html.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). โอกาสการลงทุนในธุรกิจ Well-being ไทย.สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565, จาก https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000033880.
ฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพ. (2564). เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน: หลักการลงทุน.พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
สิทธิพงษ์ คำนาน (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการออมในกลุ่มประเทศ ASEAN-5.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 18-27.
อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม Eview เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Aileen L. CAMBA. (2020). The Effect of COVID-19 Pandemic on the Philippine Stock Exchange, Peso-Dollar Rate and Retail Price of Diesel. Journal of Asian Finance, Economics and Business. (7)10 (2020), 543–553.doi: 10.13106/jafeb.2020.vol7.no10.543.
Gujrati, D.N. (2004). Basic Econometric, (4th Ed.). The McGraw-Hill Companies. New York